Search
Close this search box.

ติวเข้ม ข้อสอบ ฟิสิกส์ ม 4 ออกอะไรบ้าง

Home > เลข > ติวเข้ม ข้อสอบ ฟิสิกส์ ม 4 ออกอะไรบ้าง
เขียนโดย :
โพสต์เมื่อ :

อ่านสรุปตรงนี้ได้เลย

สวัสดีค่ะ น้องๆ ม.4 คนไหนที่กำลังมองหาคอร์ส ข้อสอบ ฟิสิกส์ ม 4 เพื่อที่จะติวเข้มและไปทำข้อสอบกันอยู่ตอนนี้ ทาง Athome มีคอร์สติวเข้ม ติวเข้ม ข้อสอบ ฟิสิกส์ ม 4 ออกอะไรบ้าง มาแนะนำ ให้น้องๆได้ลองศึกษารายละเอียดคร่าวๆกันดูว่าในวิชาฟิกสิกส์ ม.4 นั้นมีเนื้อหาใดบ้างที่น้องๆควรเน้นเป็นพิเศษ และมักจะมีการออกข้อสอบกันอยู่เป็นประจำ 

ข้อสอบ ฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1 ออกเรื่องอะไร

สำหรับ นั้นโดยหลักๆแล้วจะประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 บทหลักได้แก่ ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์, การเคลื่อนที่แนวตรง และ แรงและกฎการเคลื่อนที่

ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์

เนื้อหาของบทเรียนนี้จะประกอบไปด้วย หลักการและแนวคิดทางฟิสิกส์ การวัดและการบันทึกผลการวัดปริมาณทางฟิสิกส์ การเปลี่ยนหน่วย หน่วยในระบบ SI เลขนัยสำคัญ ความไม่แน่นอนในการวัด การทดลองทางฟิสิกส์ เนื้อหาในบทนี้นั้นส่วนใหญ่มักจะทำความเข้าใจได้ยาก เพราะเป็นการแนะนำพื้นฐานสำหรับสิ่งที่ควรทราบในการเรียนในวิชาฟิสิกส์เป็นส่วนใหญ่ โดยเนื้อหาที่น้องๆจะได้เจอในทุกๆบทเรียนแน่นอนและควรเน้นจดจำไปในการทำข้อสอบคือ การเปลี่ยนหน่วย

การเคลื่อนที่แนวตรง

ในบทที่ 2 นี้จะได้เรียนเกี่ยวกับ ตำแหน่ง การกระจัดและระยะทาง อัตราเร็วและความเร็ว ความเร่ง การหาปริมาณต่างๆ จากกราฟ สมการการเคลื่อนที่แนวตรง และการตกอย่างเสรี

แรงและกฎการเคลื่อนที่

และบทสุดท้ายในเทอมที่ 1 น้องๆจะได้เรียนเนื้อหาเกี่ยวกับ แรง แผนภาพวัตถุอิสระ การหาแรงลัพธ์ มวลและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน แรงเสียดทาน แรงดึงดูดระหว่างมวล

ข้อสอบ ฟิสิกส์ ม.4 เทอม 2 ออกเรื่องอะไร

สำหรับในเทอมที่ 2 นั้นจะมีเนื้อหาด้วยกันทั้งหมด 4 บทเรียนด้วยกันได้แก่ สมดุลกล งาน พลังงาน โมเมนตัมและการชน และ การเคลื่อนที่แนวโค้ง

สมดุลกล

สมดุลกล (mechanicalequilbrium) หรือ สมดุล (equilibrium) หมายถึงวัตถุที่สามารถรักษาสภาพการเคลื่อนที่ให้ยังอยู่คงเดิมหรือสามารถกล่าวได้อีกว่าเป็น วัตถุอยู่นิ่ง หรือ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ โดย

สมดุลกล นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น

1.  สมดุลสถิต (static equilibrium)
หมายถึง วัตถุที่อยู่นิ่งและไม่มีการหมุน เช่น ขวดน้ำวางอยู่บนโต๊ะ

2.  สมดุลจลน์ (dynamic equilibrium)
หมายถึงวัตถุที่มีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่คงตัว หรือวัตถุที่การหมุนด้วยอัตราความเร็วที่คงตัว เช่น ขวดน้ำกลิ้งตกลงมาตามพื้นเอียง ทั้งนี้ คำว่าสมดุลจลน์ สามารถแปลได้ 2 ความหมายคือ

สมดุลของวัตถุที่เคลื่อนที่แนวตรงด้วยความเร็วคงตัวแล้ว

และหมายถึงสมดุลของวัตถุที่หมุนรอบแกนเดิมด้วยอัตราเร็วคงตัว

งานและพลังงาน

งาน (Work)  คือ ปริมาณของพลังงานที่เป็นผลมาจากแรงซึ่งกระทำต่อวัตถุ ก่อนส่งผลให้วัตถุดังกล่าวเคลื่อนที่ไปตามแนวแรงได้ในระยะทางหนึ่ง ซึ่งในระบบเอสไอ (SI) งานเป็นปริมาณสเกลาร์ (Scalar) เช่นเดียวกับพลังงาน มีหน่วยเป็นนิวตันเมตร (N•m) หรือ จูล (J)

พลังงาน (Energy) คือ ความสามารถในการทำงานของสิ่งมีชีวิต วัตถุ หรือสสารต่าง ๆ เช่น การหายใจ การเคลื่อนที่ หรือการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร กระบวนการเหล่านี้สามารถดำเนินต่อไปได้เพราะพลังงานในธรรมชาติ พลังงานเป็นปริมาณพื้นฐานของระบบ ซึ่งไม่มีวันสูญสลาย แต่สามารถเปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ของพลังงาน ตาม “กฎการอนุรักษ์พลังงาน” (Law of Conservation of Energy) เช่น พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานความร้อน หรือพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น

โมเมนตัมและการชน

โมเมนตัม หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนที่ของวัตถุ ซึ่งมีค่าเท่ากับผลคูณระหว่าง มวลและ ความเร็วของวัตถุ มวลเป็นปริมาณ สเกลาร์แต่ความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์ เมื่อนำปริมาณทั้งสองเข้าคูณด้วยกันถือว่าปริมาณใหม่เป็นปริมาณเวกเตอร์เสมอ ฉะนั้นโมเมนตัมจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ คือมีทั้งขนาดและทิศทาง

โมเมนตัม = มวล × ความเร็ว

โดยที่

m แทนมวล และ v แทนความเร็ว 

หน่วยเอสไอของโมเมนตัม คือ  กิโลกรัมเมตรต่อวินาที(kgm/s)

ความเร็วของวัตถุจะให้ทั้งขนาด (อัตราเร็ว) และทิศทาง

โมเมนตัมของวัตถุขึ้นอยู่กับความเร็ว จึงทำให้เป็นปริมาณเวกเตอร์

การเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมของวัตถุ เราเรียกว่า การดล
ซึ่งหาได้จาก มวล × การเปลี่ยนแปลงความเร็ว หรือ แรงที่กระทำต่อวัตถุ × เวลาที่แรงนั้นกระทำ

การเคลื่อนที่แนวโค้ง

การเคลื่อนที่แบบวิถีโค้ง หรือ การเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์ คือ การเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีแรงกระทำทำมุมใดๆ กับความเร็ว โดยมุมกระทำนั้นไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จะได้ลักษณะการเคลื่อนที่เป็น โค้งพาราโบลาซึ่งมีการขจัดเกิดขึ้น 2 แนวพร้อมกันคือ แนวราบและแนวดิ่ง ดังนั้น ความเร็วขณะใด ๆ ของการเคลื่อนที่จะต้องประกอบด้วยความเร็ว 2 แนว คือ แนวราบ ( V ) และ แนวดิ่ง ( V, ) ทิศของความเร็วใดๆ จะต้องสัมผัสกับเส้นโค้งการเคลื่อนที่เสมอ

ซึ่งนี่คือเนื้อหาทั้งหมดนี้คือเนื้อหาที่น้องๆจะได้เรียนทั้งหมดในวิชา ฟิสิกส์ ม.4 ทั้งหมดทั้งในเทอม 1 และ เทอมที่ 2 ซี่งถ้าหากน้องๆต้องการที่จะติวเข้มในส่วนของรายเอียดเนื้อหาต่างๆเพิ่มเติมเพื่อเพื่อความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น น้องๆสามารถเลือกดูคอร์สอื่นๆกกับทาง Athome เพิ่มเติมได้เลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นคอร์ส xxxx,ของติวเตอร์ xxxx หรือคอร์ส xxxxx จาก ติวเตอร์ xxxxxx รวมทั้งหากสนใจคอร์สอื่นๆก็สามารถปรึกษากับทาง Athome ได้เลยค่ะ

ข้อสอบฟิสิกส์ ม.4 ที่ออกบ่อยมีเกี่ยวกับอะไรบ้าง

โดยส่วนใหญ่แล้วมี ข้อสอบเกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่ โดยจะ เน้นการเคลื่อนที่แนวตรง (แนวราบ และแนวดิ่ง) และ การเคลื่อนที่แบบโปรเจคไตล์

สำหรับตัวอย่างโจทย์พร้อมเฉลยที่เราจะยกตัวอย่างให้น้องๆดูมีดังนี้ค่ะ

( ใส่รูป 1)

บทความที่เกี่ยวข้อง
สรุปเนื้อหาตรรกศาสตร์ ม.4 
โพสต์เมื่อ :
รู้ก่อน เก่งก่อน สังคมศึกษา ม. 1 ต้องเรียนอะไร
โพสต์เมื่อ :
ติวเข้ม ข้อสอบ ฟิสิกส์ ม 4 ออกอะไรบ้าง
โพสต์เมื่อ :
พิชิตคะแนนฟิสิกส์แบบแม่นๆด้วย สูตรฟิสิกส์ ม 4
โพสต์เมื่อ :
สรุปย่อ “จำนวนจริง” พร้อมสูตรทั้งหมด ครบถ้วน เตรียมพร้อมสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบ...
โพสต์เมื่อ :
สรุปเรื่อง พหุนาม เอกนาม ม.1 พร้อมแบบฝึกหัดและเฉลย จัดเต็มพร้อมสอบ เกรดดีขึ้น...
โพสต์เมื่อ :