วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.4-5-6 สรุปย่อแบบเข้าใจง่าย อ่านสอบเข้ามหาวิทยาลัย พร้อมแบบฝึกหัด

Home > วิทยาศาสตร์ทั่วไป > วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.4-5-6 สรุปย่อแบบเข้าใจง่าย อ่านสอบเข้ามหาวิทยาลัย พร้อมแบบฝึกหัด
เขียนโดย :
โพสต์เมื่อ :

อ่านสรุปตรงนี้ได้เลย

วิทยาศาสตร์กายภาพ เป็นอีกหนึ่งวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติ โดยใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายในการใช้ประกอบการอธิบายทั้ง หลักการทางชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี โลกดาราศาสตร์ที่ทำให้เราสามารถตอบคำถามต่าง ๆ ในธรรมชาติได้ ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงการเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ซึ่งพี่ ๆ ATHOME ได้ทำการรวมเนื้อหาทั้งหมดของชั้นม.ปลาย พร้อมแบบฝึกหัดมาให้น้อง ๆ ที่อยากเตรียมตัวสอบได้ศึกษาเพื่อเพิ่มความเข้าใจนะคะ

วิทยาศาสตร์กายภาพ คือ

วิทยาศาสตร์กายภาพ คือ วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่างๆ ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกและจักรวาล ในส่วนของสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เคมี ธรณีวิทยา และคณิตศาสตร์ ฯลฯ

วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.4 เรียนอะไรบ้าง

เนื้อหา วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.4 

บทที่ 1 การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์

  1. การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์

บทที่ 2 การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์

  1. การรักษาดุลยภาพของน้ำและสารในร่างกาย
  2. การรักษาดุลยภาพของกรด-เบสของเลือด
  3. การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิภายในร่างกาย
  4. ระบบภูมิคุ้มกัน

บทที่ 3 การดำรงชีวิตของพืช

  1. สารอินทรีย์ในพืช
  2. สารอินทรีย์ที่ไม่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต
  3. ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
  4. การตอบสนอของพืชต่อสิ่งเร้า

บทที่ 4 พันธุกรรมและวิวัฒนาการ

  1. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
  2. ยีนกับการควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม
  3. การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
  4. เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
  5. วิวัฒนาการและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

บทที่ 5 ชีวิตในสิ่งแวดล้อม

  1. ระบบนิเวศ
  2. มนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างแบบทดสอบ วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.4

  1. การที่โปรตีนลำเลียงในเยื่อหุ้มเซลล์มีความจำเพาะกับชนิดของสารที่ลำเลียงมีประโยชน์ต่อเซลล์อย่างไร

ตอบ การที่โปรตีนลำเลียงในเยื่อหุ้มเซลล์มีความจำเพาะกับชนิดของสารทำให้เซลล์สามารถ ควบคุมชนิดและปริมาณสารที่ผ่านเข้าออกได้อย่างเป็นระบบ เซลล์จึงรักษาความเข้มข้น ของสารแต่ละชนิดได้ตามความเหมาะสม


  1. จากการทดลองแช่ชิ้นมันฝรั่งขนาดเท่ากันในน้ำ กลั่นเป็นเวลา 2 ชั่วโมง จากนั้นนำ ไปแช่ในสารละลายซูโครสเป็นเวลา 2 ชั่วโมง โดยชั่งน้ำ หนักของชิ้นมันฝรั่งทุก ๆ 5 นาทีตั้งแต่เริ่มต้นการทดลอง เส้นกราฟ A หรือ B มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้เพราะเหตุใด

ตอบ กราฟ A มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้เนื่องจากน้ำ กลั่นมีความเข้มข้นต่ำกว่าสารละลาย ภายในเซลล์น้ำ จึงออสโมซิสเข้าสู่เซลล์ทำ ให้ชิ้นมันฝรั่งมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เมื่อย้ายชิ้น มันฝรั่งไปแช่ในสารละลายซูโครส ชิ้นมันฝรั่งมีน้ำ หนักลดลง แสดงว่าเซลล์สูญเสียน้ำ ซึ่งจะเป็นไปได้ในกรณีที่ความเข้มข้นเริ่มต้นของสารละลายภายนอกเซลล์มีค่าสูงกว่า ภายในเซลล์  

กราฟ B เป็นไปไม่ได้เนื่องจากกราฟแสดงน้ำ หนักของชิ้นมันฝรั่งลดลงตลอดเมื่อ แช่ในน้ำ กลั่น แต่ความเข้มข้นของสารละลายในเซลล์มันฝรั่งสูงกว่าน้ำ กลั่น เมื่อแช่ใน น้ำ กลั่นน้ำ จึงควรออสโมซิสเข้าสู่เซลล์และน้ำ หนักของชิ้นมันฝรั่งควรเพิ่มขึ้น


  1. จากภาพถ่ายเซลล์เม็ดเลือดขาวของหนูซึ่งถ่ายหลังจากหยดยีสต์ที่ย้อมด้วยสีนิวทรัลเรด ลงไป นักเรียนคิดว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวนำ ยีสต์เข้าสู่เซลล์ด้วยวิธีใด ให้เหตุผลพร้อมทั้งวาด ภาพแสดงกลไกการลำเลียงที่เกิดขึ้น

ตอบ เซลล์เม็ดเลือดขาวนำ ยีสต์เข้าสู่เซลล์โดยเอนโดไซโทซิส เพราะยีสต์มีขนาดใหญ่


  1.  เพราะเหตุใดผู้มีอาการท้องเสียแพทย์จะแนะนำ ให้ดื่มน้ำ ผสมผงละลายเกลือแร่ ORS (Oral Rehydration Salt) แทนการดื่มน้ำ สะอาด

ตอบ อาการท้องเสียทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ และแร่ธาตุที่สำ คัญ เช่น โซเดียมคลอไรด์ โพแทสเซียมคลอไรด์ออกไปเป็นจำ นวนมาก ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของแร่ธาตุ ได้จากการดื่มน้ำ เพียงอย่างเดียว ดังนั้นการดื่มน้ำ ผสมผงละลายเกลือแร่ ORS ที่มี ส่วนผสมของแร่ธาตุที่สำ คัญดังกล่าวจะเข้าไปชดเชยน้ำ และแร่ธาตุที่สูญเสียออกไปร่างกายจะค่อย ๆ ปรับตัวเข้าสู่สมดุลอีกครั้ง


  1.  การใช้สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายฮอร์โมนพืช มีผลดีและผลเสียอย่างไร

ตอบ
ผลดีคือ สามารถนำ ไปควบคุมการเจริญเติบโตของส่วนต่างๆ ของพืช เช่น เร่งราก เร่งยอด เร่งการสุกของผลไม้เป็นต้น และสามารถควบคุมผลผลิตได้ตามต้องการ
ผลเสีย คือ สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายฮอร์โมนพืชเหล่านี้มีต้นทุนในการผลิต หากนำ มาใช้ในการเกษตรต้องมีการวางแผนและคำ นวณความคุ้มค่าต่อการลงทุน มิฉะนั้นอาจทำ ให้ไม่คุ้มทุน


วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.5 เรียนอะไรบ้าง

เนื้อหา วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.5 เทอม 1

บทที่ 1 อากาศ

  1. องค์ประกอบในอาหาร
  2. องค์ประกอบในอะตอม
  3. ธาตุ
  4. การใช้ประโยชน์จากอากาศ
  5. มลพิษทางอากาศ

บทที่ 2 น้ำ

  1. โมเลกุลของน้ำ
  2. สารในแหล่งน้ำธรรมชาติ
  3. การละลายของสารในน้ำ

บทที่ 3 อาหาร

  1. ไขมันและน้ำมัน
  2. คาร์โบไฮเดรต
  3. โปรตีน
  4. วิตามินและเกลือแร่
  5. บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร

บทที่ 4 พลังงาน

  1. เชื้อเพลิง
  2. แบตเตอรี่
  3. สารกัมมันตรังสี

เนื้อหา วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.5 เทอม 2

บทที่ 1 การเคลื่อนที่และแรง

  1. การเคลื่อนที่แนวตรง
  2. แรงและการเคลื่อนที่
  3. การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ

บทที่ 2 แรงในธรรมชาติ 

  1. แรงโน้มถ่วงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุต่าง ๆ รอบโลก
  2. สนามแม่เหล็กจากเส้นลวดที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน
  3.  แรงแม่เหล็กที่กระทำ กับอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าและเส้นลวดตัวนำ ที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน
  4. การเหนี่ยวนำ แม่เหล็กไฟฟ้า
  5. แรงอ่อนและแรงเข้ม

บทที่ 3 พลังงาน

  1. เซลล์สุริยะ
  2. พลังงานนิวเคลียร์ 
  3.  เทคโนโลยีด้านพลังงาน

บทที่ 4 ปรากฏการณ์ของคลื่นกล

  1.  คลื่นกล
  2. พฤติกรรมของคลื่น
  3.  ความถี่ธรรมชาติ และการสั่นพ้อง

บทที่ 5 เสียง

  1. พฤติกรรมของเสียง
  2. การได้ยินเสียง
  3. ปรากฏการณ์อื่น ๆ ของเสียง
  4. ประโยชน์ของเสียงในด้านต่าง ๆ

บทที่ 6 แสงสี

  1.  การมองเห็นสีของวัตถุ 
  2. ตากับการเห็นสี
  3. การบอดสี 
  4. แผ่นกรองแสงสี
  5.  การผสมแสงสี 
  6. การผสมสารสี
  7. การมองเห็นสีของวัตถุภายใต้แสงสีต่าง ๆ
  8.  การนำ ไปใช้ประโยชน์ของสารสีและแสงสี

บทที่ 7 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

  1. ส่วนประกอบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  2. หลักการทำงานของอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  3. การสื่อสารโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ตัวอย่างแบบทดสอบ วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.5

  1. เมื่อนำ กล่องโฟมบรรจุอาหารมาใส่อาหารผัดหรือทอด พบว่ามีรูรั่วเกิดขึ้น นักเรียนคิดว่า กล่องโฟมผลิตขึ้นมาจากสารมีขั้วหรือไม่มีขั้ว และจะอธิบายเหตุการณ์ดังกล่าวโดยใช้ หลักการ like dissolves like ได้อย่างไร 

ตอบ กล่องโฟมผลิตขึ้นมาจากสารไม่มีขั้ว และรูรั่วที่เกิดขึ้นเกิดจากน้ำ มันซึ่งเป็นสารไม่มีขั้ว
ละลายกล่องโฟม


  1. ในกระบวนการทำมาการีนมีการใช้โลหะนิกเกิล เพื่อทำ ให้เกิดปฏิกิริยาการเปลี่ยนไขมัน ไม่อิ่มตัวของน้ำ มันพืชให้เป็นไขมันอิ่มตัวซึ่งเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง นักเรียนคิดว่า โลหะนิกเกิลทำ หน้าที่ใด

ตอบ โลหะนิกเกิลทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพราะนิกเกิลไม่ได้เป็นองค์ประกอบของไขมัน
อิ่มตัวซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์


  1. ถ้าเริ่มต้นมีสารกัมมันตรังสีชนิดหนึ่งอยู่ 32 กรัม เมื่อเวลาผ่านไป 1 วัน จะเหลือสารนี้ 2 กรัม สารกัมมันตรังสีชนิดนี้มีครึ่งชีวิตเป็นเท่าใด

ตอบ สารนี้เหลือ 2 กรัม จากเริ่มต้น 32 กรัม แสดงว่า เวลาผ่านไป 4 ครึ่งชีวิต ซึ่งเป็นเวลา 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง ดังนั้นสารกัมมันตรังสีชนิดนี้จึงมีครึ่งชีวิต 6 ชั่วโมง


  1. เมื่อสาร A ทำ ปฏิกิริยากับสาร B เกิดเป็นสาร C และ D พบว่า ปฏิกิริยาเกิดขึ้นโดย สาร A ให้อิเล็กตรอนกับสาร B นักเรียนคิดว่าปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยารีดอกซ์หรือไม่ เพราะเหตุใด

ตอบ ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยารีดอกซ์ เพราะมีการถ่ายโอนอิเล็กตรอนระหว่างสารเคมีใน ปฏิกิริยา


  1. การทำ ให้แป้งขนมปังขึ้นฟู พบว่าการหมักแป้งขนมปังในหน้าหนาวใช้เวลามากกว่าใน หน้าร้อน เพราะเหตุใด

ตอบ ในหน้าหนาวมีอุณหภูมิต่ำ กว่า ปฏิกิริยาเคมีจึงเกิดช้ากว่า จึงต้องใช้เวลาในการหมักแป้ง
ขนมปังนานกว่า


วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.6 เรียนอะไรบ้าง

เนื้อหา วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.6 

บทที่ 1 เอกภพ

  1. การกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ
  2. หลักฐานที่สนับสนุนทฤษฏีบิกแบง
  3.  กาแล็กซีและกาแล็กซีทางช้างเผือก

บทที่ 2 ดาวฤกษ์

  1. สมบัติของดาวฤกษ์
  2.  กำเนิดและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์

บทที่ 3 ระบบสุริยะ

  1. กำเนิดระบบสุริยะและการแบ่งเขตบริวารรอบดวงอาทิตย์
  2. โครงสร้างและปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์

บทที่ 4 เทคโนโลยีอวกาศ

  1. เทคโนโลยีอวกาศกับการสำรวจอวกาศ
  2. เทคโนโลยีอวกาศกับการประยุกต์ใช้

บทที่ 5 โครงสร้างโลก

  1. ข้อมูลในการศึกษาและแบ่งชั้นโครงสร้างโลก
  2. การแบ่งชั้นโครงสร้างโลก

บทที่ 6 การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี

  1.  แนวคิดของทฤษฎีทวีปเลื่อนและหลักฐานสนับสนุน
  2. แนวคิดของทฤษฎีการแผ่ขยายพื้นสมุทรและหลักฐานสนับสนุน
  3.  การแปรสัณฐานของแผ่นธรณ
  4.  ธรณีสัณฐานและโครงสร้างทางธรณีที่เกิดจากการ

บทที่ 7 ธรณีพิบัติภัย

  1. ภูเขาไฟระเบิด
  2. แผ่นดินไหว
  3.  สึนาม

ตัวอย่างแบบทดสอบ วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.6

  1. นักเรียนคนหนึ่งกล่าวว่า ดาวฤกษ์ทั้งหมดที่เห็นบนท้องฟ้าด้วยตาเปล่าเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ ในกาแล็กซีทางช้างเผือก นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ตอบ  เห็นด้วย เพราะกาแล็กซีทางช้างเผือกมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับตัวเรา ดังนั้น ดาวฤกษ์ทั้งหมดที่เห็นบนท้องฟ้าจึงเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก เรา ไม่สามารถมองเห็นดาวฤกษ์ในกาแล็กซีอื่นด้วยตาเปล่าได้เพราะดาวฤกษ์เหล่านั้นอยู่ไกล มาก เห็นได้เฉพาะกาแล็กซีเพื่อนบ้านได้แก่ กาแล็กซีแอนดรอเมดา กาแล็กซีแมเจลแลน ใหญ่ และกาแล็กซีแมเจลแลนเล็ก


  1. โชติมาตรปรากฏและค่าโชติมาตรสัมบูรณ์ของดาวมีความแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ โชติมาตรปรากฏของดาวเป็นตัวเลขที่มีความสัมพันธ์กับความส่องสว่างของดาว ที่มองเห็นได้จากโลก แต่โชติมาตรปรากฏไม่สามารถนำ มาเปรียบเทียบกำ ลังส่องสว่างของ ดาวฤกษ์ได้เนื่องจากดาวแต่ละดวงอยู่ห่างจากโลกแตกต่างกัน เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกำ ลัง ส่องสว่างของดาวฤกษ์ได้จึงได้มีการกำ หนดค่า โชติมาตรสัมบูรณ์เพื่อเป็นการเปรียบเทียบกำ ลัง ส่องสว่างของดาวฤกษ์ที่ระยะห่างจากโลกเท่ากัน โดยเปรียบเทียบกำ ลังส่องสว่างของดาวฤกษ์ เมื่อกำ หนดให้ดาวฤกษ์อยู่ห่างจากโลกเท่ากับ 10 พาร์เซก หรือประมาณ 32.6 ปีแสง


  1. ความส่องสว่างของดาวฤกษ์ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง ปัจจัยดังกล่าวมีความสัมพันธ์กัน อย่างไร

ตอบ ความส่องสว่างของดาวฤกษ์ขึ้นอยู่กับกำ ลังส่องสว่างของดาวฤกษ์และระยะ ห่างของดาวฤกษ์กับผู้สังเกต โดยดาวที่มีกำ ลังส่องสว่างมากจะมีความส่องสว่างมากกว่า ดาวฤกษ์ที่มีกำ ลังส่องสว่างน้อยเมื่อห่างจากผู้สังเกตในระยะทางที่เท่ากัน นอกจากนี้ ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้กับผู้สังเกตจะมีความส่องสว่างมากกว่าดาวฤกษ์ที่อยู่ไกล


  1. เพราะเหตุใดเมื่อมองจากโลกนักเรียนจึงเห็นดวงอาทิตย์สว่างกว่าดาวซิริอัสทั้งที่ดาวซิริอัส มีกำลังส่องสว่างมากกว่าดวงอาทิตย์

ตอบ เมื่อเปรียบเทียบโชติมาตรปรากฏของดวงอาทิตย์และดาวซิริอัส พบว่า ดวงอาทิตย์มีค่าโชติมาตรปรากฏ -26.7 ส่วนดาวซิริอัสมีค่าโชติมาตรปรากฏ -1.46 ดังนั้น ผู้สังเกตบนโลกจะเห็นดวงอาทิตย์มีความส่องสว่างมากกว่าดาวซิริอัส


  1. เนบิวลามีความสัมพันธ์กับดาวฤกษ์อย่างไร

ตอบ เนบิวลา คือ กลุ่มแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียมที่เกิดจากบิกแบง เรียกว่า เนบิวลา ดั้งเดิมและเกิดจากซูเปอร์โนวาหรือเกิดจากดาวฤกษ์ขนาดใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ที่ เป็นต้นกำ เนิดเนบิวลาดาวเคราะห์ที่สาดกระจายออกสู่อวกาศไปรวมกับเนบิวลาดั้งเดิม กลายเป็นเนบิวลารุ่นใหม่ซึ่งจะมีองค์ประกอบเป็นฝุ่นและแก๊สต่าง ๆ รวมตัวกันเป็น ดาวฤกษ์ เนบิวลาเกี่ยวข้องกับดาวฤกษ์เพราะแรงโน้มถ่วงทำ ให้เนบิวลากลายเป็น ดาวฤกษ์และบั้นปลายชีวิตของดาวฤกษ์จะมีซากเป็นเนบิวลาด้วย


เก็งข้อสอบวิทยาศาสตร์กายภาพ ม.ปลาย ออกเรื่องไหนบ้าง

  • พันธุกรรม
  • สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
  • อยู่ดีมีสุข
  • อยู่อย่างปลอดภัย
  • ธาตุและสารประกอบ
  • ปฏิกิริยาเคมี
  • สารชีวโมเลกุล
  • ปิโตรเลียม
  • พอลิเมอร์
  • การเคลื่อนที่
  • แรงในธรรมชาติ
  • คลื่นกล
  • เสียง
  • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • พลังงานนิวเคลียร์
  • โครงสร้างโลก
  • การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี
  • แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด
  • ธรณีประวัติ
  • กำเนิดเอกภพ
  • ดาวฤกษ์
  • ระบบสุริยะ
  • เทคโนโลยีอวกาศ

ข้อสอบ : 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ จำนวน 50 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน

ตัวอย่างแบบทดสอบ วิทยาศาสตร์กายภาพ เข้ามหาวิทยาลัย

  1. ลักษณะใดต่อไปนี้ ที่เป็นการแปรผันแบบต่อเนื่อง
  1. การมีลักยิ้ม การมีติ่งหู
  2. สีผิว ความสูง
  3. ความถนัดซ้ายขวา ความห่างของคิ้ว
  4. การห่อลิ้น สีผิว
  5. การมีติ่งหู การห่อลิ้น

เฉลย  (2) สีผิว ความสูง


2. การผสมกันระหว่าง AaBbCc x AaBbCc จะมีโอกาสที่จะได้ลูกผสมที่เป็นโฮโมไซกัสจากยีนด้อยเท่ากับเท่าใด

  1. 1/64
  2. 1/32
  3. 1/16
  4. 1/4

เฉลย (1) 1/64


3.  ข้อใดไม่ใช่การรักษาสิ่งแวดล้อม

  1. ไบรอันทำการแยกขยะทุกครั้งก่อนทิ้งในถังขยะ
  2. น้ำตาลนำขวดพลาสติกใสมาใส่น้ำดื่มอีกหลาย ๆ ครั้ง
  3. นิ้งใช้ถุงผ้าในการช้อปปิ้งในตลาดแทนการใช้ถุงพลาสติก
  4. หยาดฟ้านิยมซื้อขนมที่ห่อด้วยใบตองแทนการห่อด้วยถาดโฟม
  5. แนทมักปิดไฟทุกครั้งตอนที่ไม่ได้ใช้

เฉลย (2) น้ำตาลนำขวดพลาสติกใสมาใส่น้ำดื่มอีกหลาย ๆ ครั้ง


4. ข้อใดเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนมากที่สุด

  1. สิธาใช้ทรัพยากรตามที่กฎหมายกำหนด
  2. ชัยวุฒิใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า
  3. จอมขวัญใช้ทรัพยากรตามที่อินเทอร์เน็ตสอน
  4. วีณาใช้ทรัพยากรหลาย ๆ ชนิดพร้อมกัน
  5. ชัชชัยใช้ทรัพยากรเพื่อการเกษตรเพียงอย่างเดียว

เฉลย (2) ชัยวุฒิใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า


5. อาหารประเภทหมักดองนั้นจะมีการสูญเสียคุณค่าสารอาหารในข้อใดมากที่สุด

  1. ไขมัน
  2. คาร์โบไฮเดรต
  3. โปรตีน
  4. น้ำ
  5. วิตามิน

เฉลย (5)  วิตามิน


รีวิวข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป วิทยาศาสตร์กายภาพ

 

PART เคมี

ธาตุและสารประกอบ

จากสถิติข้อสอบเก่าแล้วนั้น บทนี้เป็นบทที่ออกบ่อย และค่อนข้างออกเยอะ อย่างน้อยก็ 3 ข้อขึ้นไป รายละเอียดที่ออกคือ การหาจำนวนนิวตรอน จำนวนอิเล็กตรอน จากเลขมวลหรือเลขอะตอมที่โจทย์ให้มา 

วาเลนซ์อิเล็กตรอน

อิเล็กตรอนวงนอกสุดที่สามารถทำนายหมู่ของธาตุได้ เป็นหัวข้อที่สำคัญมาก แนะนำให้ทำความเข้าใจและเก็บหัวข้อนี้ให้แม่น ๆ 

พันธะเคมี 

ส่วนใหญ่จะออกเป็นเนื้อหาเรื่อง พันธะโคเวนต์คืออะไร มีลักษณะอย่างไร เกิดขึ้นยังไง สมบัติของสารประกอบโคเวเลนต์เป็นยังไง แน่นอนว่าน้อง ๆ ต้องจำของพันธะไออนิกและพันธะโลหะควบคู่ไปด้วยนะคะ

กรด-เบส 

อ่านทำความเข้าใจพื้นฐานของกรดและเบส แนะนำให้จำตัวอย่างต่าง ๆ ที่ในหนังสือสสวท.แนะนำเอาไว้เลย มีเปอร์เซ็นต์ที่ข้อสอบจะออกตามหนังสือเยอะมาก ๆ 

ปฏิกิริยาเคมี 

แนะนำให้น้อง ๆ ทำความเข้าใจหัวข้อใหญ่ ๆ และเลือกจำปฏิกิริยาเคมีที่สำคัญในเรื่องนี้จากในหนังสือสสวท.เป็นหลัก รวมถึงในแบบฝึกหัดท้ายบทด้วย

การหาค่าครึ่งชีวิต 

หัวข้อนี้ยังไงก็ห้ามทิ้งเด็ดขาดเลยเพราะมันไม่ซับซ้อนและสูตรไม่ได้ยาก บางข้อแค่วาดแผนภาพการสลายตัวอออกมาก็สามารถหาคำตอบได้เช่นเดียวกัน แนะนำเก็บหัวข้อนี้ไปด้วยนะคะ

พอลิเมอร์ 

บทนี้น้อง ๆ หลายคนอาจจะรู้สึกว่าพอลิเมอร์มีหลายชนิดมาก จำยังไงก็จำได้ไม่หมด พี่ขอแนะนำให้เลือกจำเฉพาะชนิดที่สำคัญกรณีที่น้องเป็นคนที่เหลือเวลาเตรียมตัวไม่มาก และควรแยกประเภทของเทอร์โมพลาสติก กับ เทอร์โมเซตพลาสติกให้ได้

การทดสอบสารอาหาร 

เรื่องนี้ไม่ต้องจำรายละเอียดเยอะ เพียงเลือกจำคอนเซปต์ต่าง ๆ แนะนำให้จำไปทุกสารอาหารเพราะมีโอกาสเท่า ๆ กันในการเลือกออก ยิ่งไปกว่านั้นแนะนำให้จำข้อจำกัดของสารอาหารแต่ละชนิดด้วยจะได้ไม่โดนโจทย์หลอกง่าย ๆ 

PART ชีวะ

โจทย์ UNSEEN

พาร์ทนี้จะออกเยอะมากกว่าทุกปี เน้นไปที่การอ่านจับใจความ แนะนำว่าน้อง ๆ ควรทำความเข้าใจคำว่า ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุมให้ละเอียดนะคะ เพราะส่วนใหญ่ข้อสอบแนวบทความมักจะเป็นการทดลองมา แล้วถามเกี่ยวกับการทดลองนั้น ๆ บางบทความสามารถออกนอกเหนือบทเรียนได้เพราะข้อมูลต่าง ๆ ได้ให้มาในบทความนั่นเอง ตรงนี้ถ้าน้อง ๆ อยากรักษาเวลาในการทำข้อสอบ พี่ ๆ แนะนำให้อ่านโจทย์ก่อน แล้วค่อยกลับไปอ่านในบทความจะช่วยให้เราจับใจความได้ว่าต้องตามหาข้อมูลส่วนไหน

การเปลี่ยนแปลงปฐมภูมิ ทุติยภูมิ 

ออกทุกปี ควรเก็บให้ได้ ควรทำความเข้าใจ

การแบ่งเซลล์และการบอกระยะของการแบ่งเซลล์

บทนี้อาจจะต้องจำอย่างละเอียดและเข้าใจ แนะนำให้จำแล้ววาดออกมาเป็นภาพเลยว่าการแบ่งเซลล์แต่ละระยะเกิดอะไรขึ้นภายในเซลล์ ภายในนิวเคลียส รวมถึงจำได้ว่าโครโมโซมเกิดปรากฏการณ์สำคัญอะไรบ้าง และจำนวนโครโมโซมเท่ากับเท่าใด

การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์

บทนี้จะเน้นไปที่การมองภาพเป็นหลัก แนะนำว่าน้อง ๆ ควรอ่านและทำความเข้าใจเรื่องการส่งออกสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ของทั้งสารขนาดเล็กและขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังควรจำว่าตัวอย่างการลำเลียงสารประเภทนั้น ๆ เกิดขึ้นบริเวณใดของเซลล์ด้วย

ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต 

เน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงและตอบสนองเพื่อรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์และสัตว์ เช่น ของปีก่อนออกเป็นการที่คนเราเกิดอาการขาดน้ำ ต้องการน้ำเพิ่มขึ้นจะเกิดกลไกในร่างกายอะไรได้บ้าง

การจับคู่แอลลีนลักษณะทางพันธุกรรม และกรุ๊ปเลือด

เรื่องนี้เป็นพันธุศาสตร์พาร์ทคำนวณที่เก็บไม่ยาก แนะนำให้ทำให้ได้ก่อนเข้าห้องสอบเลยจริง ๆ เพราะเตรียมแล้วค่อนข้างคุ้มค่าเนื่องจากออกสอบทุกปีเลยก็ว่าได้

PART ฟิสิกส์

แรงและการเคลื่อนที่ 

เรื่องของความเร่งและความเร็ว ขอให้อ่านให้เข้าใจถึงความแตกต่างและจำสูตรให้ได้ ซ้อมคำนวณก็สามารถทำได้

กฎของนิวตันเกี่ยวกับแรง

แรงในกฎของนิวตันนั้นมีอยู่สามข้อ ตรงนี้เราควรทำความเข้าใจในนิยามของแต่ละกฎให้เข้าใจ รวมถึงต้องระวังจุดที่หลายคนมักเข้าใจผิด ปีนี้เน้นออกไปที่แรงกิริยากับแรงปฏิกิริยาเป็นหลัก ขอให้น้องทำความเข้าใจถึงตัวนิยามให้แม่น ๆ และฝึกทำโจทย์เพื่อเพิ่มความเข้าใจ

สนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า 

การเคลื่อนที่ของโปรตอนและอิเล็กตรอนว่าจะไปในทิศทางใด อาจใช้กฎมือขวามาช่วยได้เช่นกัน

 ปฏิกิริยานิวเคลียร์ 

สูตร E=mc2  รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากในหนังสือสสวท.ได้เลย

สเปกตรัม แสงสีปฐมภูมิ 

เป็นพาร์ททั่วไปที่ออกเป็นประจำทุกปีเดิม ๆ เลยอ่านไปเลยค่ะออกแน่นอน

เซลล์สุริยะ 

บทนี้ค่อนข้างเน้นไปที่ความจำและความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการทำงานเป็นหลัก แนะนำให้ไปอ่านเนื้อหาเรื่องเซลล์สุริยะในหนังสือสสวท.ได้เลย ถ้าจำทั้งหมดนั้นได้เรื่องเซลล์สุริยะน้องเก็บแต้มได้แน่นอน

ปฏิบัพ บัพ 

เรื่องเสียงและคลื่นแนะนำให้ทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างบัพและปฏิบัพ รวมถึงการใช้สูตรให้คล่อง ถ้าน้อง ๆ ไม่มั่นใจว่าตัวอย่างจะทำโจทย์เพียงพอไหมอาจจะไปดูวิชาฟิสิกส์ของสายวิทย์ก็ได้เช่นกัน

PART โลกและอวกาศ

โครงสร้างโลก

เนื้อหาส่วนนี้ต้องอาศัยความจำเยอะหน่อย จำว่าโครงสร้างแต่ละชั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร มีคุณลักษณะพิเศษอย่างไรบ้าง

การแปรสัณฐาน 

บทนี้ไม่ยากเท่าใดนัก แนะนำให้อ่านเรื่องสัญลักษณ์เกี่ยวกับการแปรสัณฐานที่มีในหนังสือสสวท.เป็นหลัก สามารถเก็บคะแนนได้ไม่ยาก

ดาวฤกษ์ 

บทนี้แอบโหดเหมือนกันนะ เพราะเรื่อง ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่จะออกเป็นบทความยาว ๆ ต้องอ่านเยอะหน่อย แนะนำให้อ่านโจทย์ก่อน จากนั้นค่อยกลับมาดูโจทย์ ใครไม่อยากคะแนนน้อยแนะนำอย่าพลาด บทดาวฤกษ์นี้เด็ดขาด ออกเยอะมากจริง ๆ 

อุตุนิยมวิทยา 

เป็นบทที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง ความกดอากาศ ลักษณะภูมิอากาศ รวมถึงการเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางสภาพอากาศทั้งการเกิด ลม พายุ ฝน และหยาดน้ำฟ้าต่าง ๆ  

กระแสน้ำอุ่น-เย็น 

บทนี้แนะนำให้อ่านให้เข้าใจ เรื่อง การไหลเวียน ของกระแสน้ำ ทั้งกระแสน้ำอุ่น และกระแสน้ำเย็น แต่ข้อสอบค่อนข้างออกกว้าง ถ้ามีเวลาไม่มาก แนะนำให้อ่านคร่าว ๆ เพื่อให้เข้าใจ คอนเซปต์ก็เพียงพอแล้ว

ส่วนการอ่านแล้ววิเคราะห์เพื่อตอบคำถาม

พาร์ทนี้เน้นการอ่านบทความที่เขาให้มาจากโจทย์ จากนั้นเราต้องวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ถึงความเชื่อมโยงกับสิ่งที่โจทย์ต้องการถาม จากนั้นก็นำไปตอบคำถามนั้น ๆ ทริคง่าย ๆ คือลองสแกนบทความคร่าว ๆ ก่อนอย่าเพิ่งอ่านทั้งหมด จากนั้นกลับไปอ่านคำถามที่โจทย์ต้องการจากนั้นค่อยอ่านบทความค่ะ

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

วิทยาศาสตร์กายภาพ มีอะไรบ้าง

ชีววิทยา / เคมี / ฟิสิกส์ / โลกดาราศาสตร์และอวกาศ

วิทยาศาสตร์กายภาพ เรียนเกี่ยวกับอะไร

วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่างๆ ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกและจักรวาล

วิธีเพิ่มคะแนน วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ

เน้นไปที่การทำแบบฝึกหัดท้ายบทในหนังสือสสวท. และทำสรุปโน้ตย่อแต่ละบทเอาไว้อ่านทบทวนช่วงใกล้สอบ

บทเรียนเรื่องต่าง ๆ ในวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตใกล้ตัวเรา อาศัยองค์ความรู้สำคัญ ทั้งชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์และโลกดาราศาสตร์ ดังนั้นแล้วเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ พี่ ๆ ATHOME ขอแนะนำให้น้อง ๆ เรียนและจินตนาการภาพตามไปด้วย จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจได้ดีมากขึ้นนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
สรุปเนื้อหาตรรกศาสตร์ ม.4 
โพสต์เมื่อ :
รู้ก่อน เก่งก่อน สังคมศึกษา ม. 1 ต้องเรียนอะไร
โพสต์เมื่อ :
ติวเข้ม ข้อสอบ ฟิสิกส์ ม 4 ออกอะไรบ้าง
โพสต์เมื่อ :
พิชิตคะแนนฟิสิกส์แบบแม่นๆด้วย สูตรฟิสิกส์ ม 4
โพสต์เมื่อ :
สรุปย่อ “จำนวนจริง” พร้อมสูตรทั้งหมด ครบถ้วน เตรียมพร้อมสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบ...
โพสต์เมื่อ :
สรุปเรื่อง พหุนาม เอกนาม ม.1 พร้อมแบบฝึกหัดและเฉลย จัดเต็มพร้อมสอบ เกรดดีขึ้น...
โพสต์เมื่อ :