ตารางธาตุ มีอะไรบ้าง พร้อมเทคนิคจำติดหัว จำได้จำดี ไม่มีวันลืม!

Home > วิทยาศาสตร์ทั่วไป > ตารางธาตุ มีอะไรบ้าง พร้อมเทคนิคจำติดหัว จำได้จำดี ไม่มีวันลืม!
เขียนโดย :
โพสต์เมื่อ :

อ่านสรุปตรงนี้ได้เลย

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ตารางธาตุ ที่เด็กม.ต้นและม.ปลาย ที่เรียนเคมีต้องเจอนั้นเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่หากจำได้จะช่วยให้การเรียนเคมีนั้นกลายเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยากอย่างที่คิดได้ น้อง ๆ หลายคนอาจเห็นแค่หน้าตาตารางก็เกิดถอดใจแล้ว แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะพี่ ๆ ATHOME ของเราได้รวบรวมเทคนิคการท่องตารางธาตุแบบง่าย ๆ ท่องแล้วจำได้ติดหัวไปตลอด แถมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับตารางธาตุที่มีประโยชน์มาก ๆ ในการเรียนวิชาเคมีอีกด้วยน้า

ตารางธาตุ 8 หมู่ ในปัจจุบัน

  1. จัดเรียงตามเลขอะตอม (จำนวน p+) จากน้อยไปมาก แบ่งธาตุออกเป็น 8 หมู่
    ในแนวนอน และ 7 คาบ ในแนวดิ่ง เรียกว่า “กฎพีรีออดิก” 
  2. ตารางธาตุ แบ่งธาตุออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

ธาตุกลุ่ม A : เรียกว่าธาตุเรพรีเซนเตทีฟ (Representative Elements)

ธาตุกลุ่ม B : เรียกว่าธาตุทรานซิชัน (Transition Elements)

( ใส่รูป 1 )

สรุปประเด็นสำคัญ ตารางธาตุมีอะไรบ้าง

  1. ตารางธาตุแบ่งออกเป็น 8 หมู่ 7 คาบ 
  2. เลขหมู่ของธาตุแสดงจำนวนอิเล็กตรอนวงนอกสุดและเลขคาบแสดงจำนวนระดับพลังงานของอิเล็กตรอน 
  3. ธาตุอโลหะอยู่ด้านซ้าย อโลหะอยู่ด้านขวาและกึ่งโลหะอยู่ตรงขั้นบันได 
  4. ไฮโดรเจนไม่จัดอยู่ในหมู่ใดของตารางธาตุ 
  5. ธาตุหมู่ 1 เรียกว่า โลหะแอลคาไล หมู่ 2 เรียกว่า โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท หมู่ 6 เรียกว่า ชาลโคเจน หมู่ 7 เรียกว่า ฮาโลเจน หมู่ 8 เรียกว่า แก๊สเฉื่อย 
  6. ธาตุโลหะทุกธาตุเป็นของแข็งที่ RTP (Room Temperature and Pressure : 25   ํ c  1 ATM) ยกเว้น ปรอท (มีสถานะเป็นของเหลว)
  7. โลหะหมู่ IA IIA ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมีมากวางในอากาศไม่ได้การเก็บรักษาต้องวางไว้ในน้ำมัน 
  8. โลหะหมู่ IIA มีชื่อว่าแอลคาไลน์เอิร์ทเพราะพบมากบนพื้นโลก 
  9. หมู่ IB  เป็นโลหะมีตระกูลคือไม่ทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนในอากาศ(ไม่เกิดสนิม) 
  10. ธาตุคาร์บอนเป็นอโลหะที่มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูงมากเพราะยึดเหนี่ยวกันแบบโครงผลึกร่างตาข่าย 
  11. โลหะทรานซิชันส่วนใหญ่มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง 

วิวัฒนาการมาจนถึง ตารางธาตุในปัจจุบัน

  • ตารางธาตุและกฎชุดสามของเดอเบอไรเนอร์ (Dobereiner’s Law of Triads)

ปี ค.ศ. 1789 อองตวน ลาวัวซิเยร์ (Antoine Lavoisier) นักเคมีชาวฝรั่งเศส ทำการจัดกลุ่มธาตุโดยจำแนกระหว่างธาตุโลหะ กับธาตุอโลหะ

ต่อมา โยฮันน์ วูลฟ์กัง เดอเบอไรเนอร์ (Johann Wolfang Döbereiner) นักเคมีชาวเยอรมันได้จัดกลุ่มธาตุเป็นชุดละ 3 ชนิด โดยเลขมวลเรียงจากน้อยไปมาก 

การจัดกลุ่มธาตุเป็นชุดละ 3 แบบนี้เรียกว่า “กฎชุดสาม (Law of Triads)” แต่อย่างไรก็ตาม กฎชุดสามยังมีข้อจำกัดเนื่องจากสามารถใช้ได้กับธาตุเพียงบางกลุ่มเท่านั้น

ตัวอย่างการใช้กฎชุดสาม

( ใส่รูป 2 )

ตัวอย่างประกอบด้วย ลิเทียม (Li) โซเดียม (Na) และโพแทสเซียม (K) โดยมวลอะตอมของบนและล่างจะเท่ากับมวลอะตอมของธาตุที่อยู่ตรงกลาง 

นอกจากนี้ เดอเบอไรเนอร์ สังเกตว่าคุณสมบัติของธาตุกับมวลอะตอมอาจมีความสัมพันธ์กันด้วย เนื่องจากลิเทียม โซเดียม และโพแทสเซียมต่างทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำได้ทั้งหมด

  • ตารางธาตุของนิวแลนด์และกฎแปด (Newland’s Periodic* Table and Law of Octaves)

( ใส่รูป 3 )

จอห์น นิวแลนด์ (John Newlands)  นักเคมีชาวอังกฤษจัดตารางธาตุขึ้นใหม่ โดยเพิ่ม ‘มวลอะตอม (Atomic Masses)’ เข้าไป โดยจะเรียงธาตุทีละ 8 ธาตุ จากมวลอะตอมน้อย→มากลงในตาราง 

ตารางธาตุของนิวแลนด์ จะไม่มี ไฮโดรเจนกับแก๊สมีสกุล และธาตุตัวที่ 8 จะมีสมบัติคล้ายกับธาตุตัวที่ 1 ลักษณะการเรียงธาตุแบบนี้เรียกว่า “กฎแปด (Law of Octaves)”

ข้อจำกัดของตารางธาตุของนิวแลนด์ คือ ไม่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างมวลอะตอมของธาตุกับสมบัติที่คล้ายกัน รวมถึงกฎแปดสามารถใช้พิจารณาถึงธาตุที่มีมวลอะตอม 40 คือ Ca เท่านั้น

  • ตารางธาตุของดิมิทรี เมนเดเลเยฟ และโลทาร์ ไมเออร์ (Dmitri Mendeleev and Lothar Meyer’s Periodic Table)
    ( ใส่รูป 4 )

ดิมิทรี อิวาโนวิค เมนเดเลเยฟ (Dmitri Ivanovich Mendeleev) นักเคมีชาวรัสเซียจึงเริ่มบุกเบิกตารางธาตุสมัยใหม่ด้วยการเรียงธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปมาก จะพบว่าธาตุมีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วง ๆ

การที่ธาตุต่าง ๆ มีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วงแบบนี้ เมนเดเลเยฟตั้งเป็นกฏเรียกว่า ‘กฎพิริออดิก (periodic law)’

  • ตารางธาตุของเฮนรี โมสลีย์และตารางธาตุในปัจจุบัน

( ใส่รูป 5 )

ปีค.ศ. 1913 เฮนรี โมสลีย์ (Henry Moseley) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ทำการทดลองโดยใช้รังสีเอ็กซ์มาวัดความยาวคลื่นของธาตุต่าง ๆ จากนั้นหาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นกับเลขอะตอม 

การทดลองนี้ทำให้โมสลีย์พบว่า “สมบัติของธาตุสัมพันธ์กับเลขอะตอมมากกว่ามวลอะตอม” 

โมสลีย์ จึงเริ่มจัดเรียงตารางธาตุใหม่ ตามเลขอะตอมหรือประจุบวกในนิวเคลียส 

เทคนิคท่องตารางธาตุ ท่องแบบนี้ไม่มีวันลืม 

หมู่ 1A

สัญลักษณ์วิธีท่องชื่อธาตุ
Liไรลิเทียม
Naนะโซเดียม
Kคะโพแทสเซียม
Rbรูรูบิเดียม
Csซิซิเซียม
Frแฟรนแฟรนเซียม

หมู่ IIA

สัญลักษณ์วิธีท่องชื่อธาตุ
Beบี้เบริลเลียม
Mgแมงแมกนีเซียม
Caคาแคลเซียม
Srเสาสตอรนเชียม
Baบาแบเรียม
Raละเรเดียม

หมู่ IIIA

สัญลักษณ์วิธีท่องชื่อธาตุ
Bบอลโบรอน
Alอลูมิเนียม
Gaแกแกลเลียม
Inอินอินเดียม
Tlไทยแทลเลียม

หมู่ IVA

สัญลักษณ์วิธีท่องชื่อธาตุ
Cซีคาร์บอน
Siสิซิลิกอน
Geเจอเจอร์เมเนียม
Snเอสเอนดีบุก
Pbพีบีตะกั่ว

หมู่ VA

สัญลักษณ์วิธีท่องชื่อธาตุ
Nนะไนโตรเจน
Pพาสฟอสฟอรัส
AsAsenic / สารหนู
SbแอนAntimony / พลวง
Biบิสบิสมัธ

หมู่ VIA

สัญลักษณ์วิธีท่องชื่อธาตุ
Oออสออกซิเจน
Sซัลเฟอร์
Seซีซีลีเนียม
Teทีเทลลูเรียม
Poโปพอโลเนียม

หมู่ VIIA

สัญลักษณ์วิธีท่องชื่อธาตุ
Fแฟนฟลูออรีน
Clคลับคลอรีน
Brโบโบรมีน
Iไอไอโอดีน
Atแอทแอททาทีน

หมู่ VIIIA

สัญลักษณ์วิธีท่องชื่อธาตุ
Heฮีฮีเลียม
Neนีนีออน
Arแอร์อาร์กอน
Krครูคริปตอน
Xeเซิร์นซีนอน
Rnเรดอน

วิธีจำธาตุทรานซิชัน

สัญลักษณ์วิธีท่องชื่อธาตุ
Scสตรีสแกนเดียม
Tiไทเทเนียม
Vวิทย์วาเนเดียม
Crขายโครเมียม
Mnหม้อแมงกานีส
Feเหล็กเหล็ก
Coโคโคบอลต์
Niนินิเกิล
Cuคอปทองแดง
Znซิงค์สังกะสี

ชื่อธาตุและสัญลักษณ์ของธาตุ

( ใส่รูป 6 )

ยุคใหม่ : จะใช้เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นสัญลักษณ์บางถ้าจะมีตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ตัวเดียวบางธาตุมีมากกว่า 1 ตัวอักษร  ถ้าธาตุใดมีมากกว่า 1 ตัวอักษรจะใช้ตัวอักษรตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่และที่เหลือเป็นตัวพิมพ์เล็ก 
ตัวอย่าง

ธาตุไฮโดรเจน = H
ธาตุลิเทียม = Li
ธาตุโบรอน = B 
ธาตุไนโตรเจน = N
ธาตุฟลูออรีน = F
ธาตุโซเดียม = Na
ธาตุอลูมิเนียม = Al
ธาตุฟอสฟอรัส = P
ธาตุคลอรีน = Cl
ธาตุโพแทสเซียม = K 

รู้จัก ตารางธาตุ เลขมวล เลขอะตอม มวลอะต

การระบุของธาตุโดยแสดง จำนวนโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน สามารถแสดงผ่าน
“สัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ”

( ใส่รูป 7 )

  • เลขมวล (Mass Number)
    หมายถึงเลขจำนวนเต็มที่แสดงจำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสของธาตุ 
  • เลขอะตอม (Atomic Number)
    หมายถึงเลขจำนวนเต็มที่แสดงจํานวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุ 
  • มวลอะตอม (Atomic Mass / Atomic Weight)
    หมายถึงเลขทศนิยมอย่างน้อย 4 ตำแหน่งบอกถึงจำนวนเท่าของน้ำหนักอะตอมน้ำเทียบกับค่ามาตรฐาน  (ซึ่งไม่มีหน่วย)

แนวโน้มสมบัติของธาตุตามตารางธาตุพร้อมชื่อ

  • พลังงานไอออไนเซชัน : พลังงานน้อยที่สุดที่ใช้ในการดึง 1 อิเล็กตรอนออกจากธาตุในสภาวะก๊าซ  
  • ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี  : ตัวเลขสมมุติที่แสดงความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนจากธาตุคู่พันธะ 
  • ความเป็นโลหะ : ความสามารถในการให้อิเล็กตรอนกับธาตุอื่นให้ได้ง่ายเป็นโลหะมาก 
  • ขนาดอะตอม หรือ รัศมีอะตอม : ครึ่งหนึ่งของระยะห่างระหว่างนิวเคลียสอะตอมหนึ่งถึงอะตอมหนึ่ง 
  • สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน : พลังงานที่อะตอมในสถานะแก๊สกายออกมาเมื่อได้รับอิเล็กตรอนเข้าไป 1 อิเล็กตรอน 
  • จุดเดือด / จุดหลอมเหลว : อุณหภูมิที่ทำให้ความดันไอเหนือของเหลวเท่ากับความดันบรรยากาศ 

ตารางสรุปแนวโน้มสมบัติของธาตุตามหมู่ตามคาบ

( ใส่รูป 8 )

โจทย์พร้อมแบบฝึก

  1. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ กฎพิริออดิก
  1. การจัดเรียงธาตุโดยแบ่งเป็นโลหะกับอโลหะ
  2. การจัดธาตุเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 ธาตุตามสมบัติที่คล้ายคลึงกัน
  3. เรียงธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปมากพบว่าธาตุมีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วง ๆ
  4. เรียงธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปมากพบว่าธาตุที่ 8 จะมีสมบัติเหมือน กับธาตุที่ 1 เสมอ

เฉลย (3) เรียงธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปมากพบว่าธาตุมีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วง ๆ


2.  ตารางธาตุในปัจจุบันใช้หลักการอะไรในการจัดธาตุเป็นหมวดหมู่

  1. เรียงตามลำดับมวลอะตอมจากน้อยไปมาก
  2. เรียงตามลำดับมวลโมเลกุลจากน้อยไปมาก
  3. เรียงตามลำดับเลขอะตอมจากน้อยไปมาก
  4. เรียงตามลำดับความเป็นโลหะและอโลหะ

เฉลย  (3)  เรียงตามลำดับเลขอะตอมจากน้อยไปมาก


3. กลุ่มของธาตุในข้อใดมีสมบัติเป็นโลหะ อโลหะและกึ่งโลหะ ตามลำดับ

  1. Li , Ca , F 
  2. Na , S , B 
  3. Al , C , N 
  4. Si , Mg , Ne

เฉลย   (2)   Na , S , B


4. ธาตุในข้อใดเป็นกลุ่มธาตุ f-block

  1. ธาตุแอกทิไนด์
  2. ธาตุแทรนซิชัน
  3. ธาตุกัมมันตรังสี
  4. ธาตุเรพรีเซนเททีฟ

เฉลย  (1) ธาตุแอกทิไนด์


5. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงธาตุที่อยู่ในคาบเดียวกันในตารางธาตุได้ถูกต้อง

  1. เป็นแถวของธาตุในแนวตั้ง
  2.  เป็นธาตุที่มีสมบัติคล้าย ๆ กัน
  3. เป็นธาตุที่มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน
  4.  เป็นธาตุที่มีจำนวนระดับพลังงานเท่ากัน

เฉลย (4) เป็นธาตุที่มีจำนวนระดับพลังงานเท่ากัน


6. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของตารางธาตุในปัจจุบัน

  1. ธาตุกลุ่ม B มีสมบัติเป็นโลหะ
  2. ธาตุที่อยู่หมู่เดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน
  3. ธาตุหมู่ VIIIA มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาน้อยที่สุด
  4. ธาตุที่มีความเป็นโลหะมากที่สุดจะอยู่ทางซ้ายมือสุดของตารางธาตุ

เฉลย    (2) ธาตุที่อยู่หมู่เดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน


7.  ธาตุในข้อใดเป็นธาตุแฮโลเจน

  1. Mg 
  2. Cl 
  3. Cu

เฉลย (2) Cl 


8. ธาตุ Ca , Mg , Sr จัดเป็นธาตุในข้อใด

  1. โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท 
  2. โลหะแอลคาไล
  3. ธาตุคาลโคเจน 
  4. แก๊สเฉื่อย

เฉลย  (1)  โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท 


9.  ธาตุที่มีชื่อว่า Ununpentium ควรมีเลขอะตอมเท่าใด

  1. 115 
  2. 116
  3. 117
  4. 118

เฉลย  (1)  115 


10.  กำหนดธาตุ 3A , 10B , 12C และ 19D ธาตุใดมีสมบัติทางเคมีคล้ายกันที่สุด 

  1. ธาตุ A และ B
  2. ธาตุ B และ C
  3. ธาตุ C และ D
  4.  ธาตุ A และ D

เฉลย   (4) ธาตุ A และ D


แนะนำข้อสอบ เรื่องตารางธาตุ พร้อมเฉลย

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

การอ่านตารางธาตุ ทำยังไง

อ่านตารางธาตุโดยเริ่มจากด้านซ้ายบนจนไปจบที่แถวสุดท้ายในแนวนอนใกล้ด้านขวาล่าง

วิธีจำตารางธาตุทรานซิชัน 

สตรี-วิทย์-ขาย-หม้อ-เหล็ก-โค-นิ-คอป-ซิงค์
Sc – Ti- V-Cr-Mn-Fe-Co-Ni-Cu-Zn

กลุ่มทรานซิชัน คืออะไร

 “ธาตุที่อะตอมเติมเต็มเปลือกอิเล็กตรอนชั้นดีบางส่วน หรือสามารถเพิ่มไอออนบวกให้กับเปลือกอิเล็กตรอนชั้นดีที่ไม่สมบูรณ์”

แก๊สเฉื่อย คือ อะไร

แก๊สเฉื่อย คือ ธาตุที่มีสถานะเป็นแก๊ส มีจุดเดือดต่ำ มีสมบัติไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี พบในชั้นบรรยากาศเพียงเล็กน้อย ได้แก่ ธาตุหมู่ที่ ๘ ในตารางธาตุ 

IE คือ อะไร

  ค่าพลังงานที่น้อยที่สุด ที่ใช้ในการดึงให้อิเล็กตรอนวงนอกสุด (เวเลนซ์อิเล็กตรอน) หลุดออกจากอะตอมหรือโมเลกุลที่อยู่ในสถานะก๊าซ

EN คือ อะไร

ค่าที่แสดงความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนของอะตอมคู่ที่เกิดพันธะที่จะรวมกันเป็นโมเลกุล


การศึกษาเรื่องตารางธาตุนั้นเป็นหัวข้อที่มีประโยชน์มาก ช่วยให้สามารถทำการจัดธาตุเป็นหมู่และคาบ ทำให้ทราบสมบัติของธาตุในหมู่เดียวกันได้ สามารถที่จะทราบสมบัติต่าง ๆ จากธาตุในหมู่เดียวกัน นำไปทำนายสมบัติของธาตุต่าง ๆ ที่ยังไม่ทราบในปัจจุบันไว้ล่วงหน้าได้ ดังนั้นแล้วหากน้อง ๆ สามารถท่องจำตารางธาตุได้ แน่นอนว่าเคมีจะกลายเป็นเรื่องสนุกไปเลยแน่นอน แต่ถ้าน้องคนไหนยังท่องไม่ได้ก็ไม่ต้องท้อใจไปนะ ฝึกท่องบ่อย ๆ ก็จะค่อย ๆ จำได้เองนะคะ พี่ ๆ ATHOME ทุกคนเป็นกำลังใจให้เสมอน้า

บทความที่เกี่ยวข้อง
สรุปเนื้อหาตรรกศาสตร์ ม.4 
โพสต์เมื่อ :
รู้ก่อน เก่งก่อน สังคมศึกษา ม. 1 ต้องเรียนอะไร
โพสต์เมื่อ :
ติวเข้ม ข้อสอบ ฟิสิกส์ ม 4 ออกอะไรบ้าง
โพสต์เมื่อ :
พิชิตคะแนนฟิสิกส์แบบแม่นๆด้วย สูตรฟิสิกส์ ม 4
โพสต์เมื่อ :
สรุปย่อ “จำนวนจริง” พร้อมสูตรทั้งหมด ครบถ้วน เตรียมพร้อมสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบ...
โพสต์เมื่อ :
สรุปเรื่อง พหุนาม เอกนาม ม.1 พร้อมแบบฝึกหัดและเฉลย จัดเต็มพร้อมสอบ เกรดดีขึ้น...
โพสต์เมื่อ :