เก็ง ข้อสอบ วิทยาศาสตร์ ม.3 เตรียมตัวสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดม MWIT วมว. ล่าสุด

Home > วิทยาศาสตร์ทั่วไป > เก็ง ข้อสอบ วิทยาศาสตร์ ม.3 เตรียมตัวสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดม MWIT วมว. ล่าสุด
เขียนโดย :
โพสต์เมื่อ :

อ่านสรุปตรงนี้ได้เลย

น้อง ๆ ม.ต้น ที่ความตั้งใจอยากจะสอบเข้าโรงเรียนที่ใฝ่ฝัน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนในวมว. หรือโรงเรียนชื่อดังต่าง ๆ ก็ตาม น้อง ๆ อย่าลดทอนความสามารถของตัวเองด้วยการไม่ยอมพยายามทำเพื่อความฝันของตัวเองน้า ส่วนใครที่อยากเริ่มศึกษาแนวข้อสอบพี่ ๆ ATHOME ก็ได้ทำการร่วมกันวิเคราะห์ข้อสอบ และนำแนวข้อสอบเก่า ๆ ที่เคยออกสอบมาฝากน้อง ๆ กันแล้วค่า มาดูกันเลย!

ข้อสอบวิทย์ ม.3 แบ่งย่อยเป็นสาระอะไรบ้าง

ข้อสอบวิทยาศาสตร์ระดับม.ต้น นั้นจะแบ่งแยกออกเป็น 4 สาระ ได้แก่
ชีววิทยา / เคมี / ฟิสิกส์ / วิทยาศาสตร์กายภาพ

สรุปหัวข้อสำคัญ วิชา ชีวะ ม.ต้น

  1. ระบบนิเวศ
  2. เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
  3. อาหาร
  4. ระบบร่างกาย
  5. การเจริญเติบโตของสัตว์
  6. เทคโนโลยีชีวภาพ
  7. พืช
  8. พลังงานในสิ่งมีชีวิต
  9. พันธุศาสตร์

สรุปหัวข้อสำคัญ วิชา ฟิสิกส์ ม.ต้น

  1. กลศาสตร์
  2. ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
  3. แสงและการมองเห็น
  4. ความร้อนและของไหล

สรุปหัวข้อสำคัญ วิชา เคมี ม.ต้น

  1. สารและสมบัติของสาร
  2. การแยกสาร
  3. ธาตุและสารประกอบ
  4. การเปลี่ยนแปลงของสาร
  5. สารละลายกรด-เบส
  6. เคมีในชีวิตประจำวัน

สรุปหัวข้อสำคัญ วิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.ต้น

  1. โลกและการเปลี่ยนแปลง
  2. ดิน หิน แร่
  3. น้ำในชีวิตประจำวัน
  4. บรรยากาศ
  5. ดาราศาสตร์

เก็บเกรดที่โรงเรียน : ข้อสอบวิทยาศาสตร์ ม.3 เทอม 1

การเก็บเกรดที่โรงเรียนเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กับการฝึกโจทย์ข้อสอบเข้าเลย เพราะหลายโรงเรียนมีการกำหนดเกรดของผู้สมัคร หากน้อง ๆ ทำเกรดได้ไม่ดี จะทำให้เสียโอกาสนั้นไปอย่างน่าเสียดาย พี่ ๆ
จึงอยากแนะนำการเก็บเกรดวิทยาศาสตร์สำหรับ ม.3 เทอม 1 ให้น้อง ๆ ไปปรับใช้นะคะ

1.ตั้งเป้าหมายให้แน่ชัด
อยากได้เกรดวิชาไหนเท่าไร เช่น อยากได้วิทย์ 3.5 ขึ้นไป หรืออยากได้ 4 เราควรระบุให้แน่ชัดเพื่อจะทำวิธีการให้เหมาะสมกับเป้าหมาย
2.ตั้งใจเรียนในห้องสำคัญมาก 
น้อง ๆ คนไหนที่คิดว่าไม่ต้องฟังครูก็ได้ ไปฟังติวเตอร์เรียนพิเศษอย่างเดียว พี่ไม่ค่อยแนะนำนะ ถ้าน้องมีโอกาสเรียนในห้องควรทำมันให้ดี พยายามทำความเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ จะช่วยให้การไปเรียนพิเศษ รวมถึงการทบทวนด้วยตัวเองมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.ทบทวนหลังเรียนทุกครั้ง
ถึงแม้ว่าเราจะตั้งใจเรียนแค่ไหนแต่ถ้าไม่ทบทวนยังไงก็ลืมแน่นอน พี่แนะนำให้หมั่นทบทวนบ่อย ๆ และไม่ทิ้งห่างเกินไป จะช่วยให้จดจำเนื้อหาต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น
4.ฝึกทำโจทย์ในหนังสือเรียน และโจทย์เสริมข้างนอกอยู่เสมอ
เมื่อเข้าใจเนื้อหาแล้วแต่ยังไม่กล้าทำโจทย์ก็เหมือนเรามีดาบที่ไม่ถูกลับให้คม การทำโจทย์จะช่วยให้กระบวนการคิดของน้อง ๆ แม่นยำและรู้จักการประยุกต์เนื้อหากับการทำโจทย์ได้ดี นอกจากนี้ยังเสริมให้น้องจำเรื่องนั้น ๆ ได้ดีขึ้นด้วยล่ะ
5.เก็งแนวข้อสอบด้วยตัวเองบ้าง
เมื่อทำโจทย์เยอะมากพอ น้องจะเห็นภาพรวมของบทนั้น ๆ ชัดเจนขึ้น จากนั้นให้ลองเก็งข้อสอบที่น่าออกหรือนำความรู้ที่ได้ไปติวให้เพื่อน ๆ จะช่วยให้จำบทนั้นได้แม่นยำมากขึ้น
6.ทำคะแนนเก็บให้ดี ข้อนี้สำคัญเหมือนกันนะ
เพราะสัดส่วนคะแนนของคุณครูเขามีทั้งคะแนนเก็บและคะแนนสอบ ใครที่อยากได้เกรด ดี ๆ เรื่องงานต่าง ๆ ควรเก็บให้เรียบร้อยเสมอ

เก็บเกรดที่โรงเรียน : ข้อสอบวิทยาศาสตร์ ม.3 เทอม 2

แม้เกรดเทอมสุดท้ายของม.ต้น อาจจะไม่ได้ใช้สำหรับหลายคน แต่พี่แนะนำให้เก็บเกรดให้ดีที่สุดนะคะ เพราะนอกจากเราจะได้ผลการเรียนที่ดีแล้วนั้นวิชาความรู้ที่เราได้เรียนยังจะต้องใช้ต่อในระดับม.ปลายอีกด้วย เทคนิคดี ๆ ที่ช่วยให้เก็บเกรดม.3 เทอม 2 ได้ดีแม้จะเป็นช่วงที่มีสอบเข้าโรงเรียนดังต่าง ๆ จนน้อง ๆ เสียเวลาในการเรียนไปมากก็ตาม ทำได้ดังนี้

1.ตั้งเป้าหมายตามที่ตัวเองต้องการเสมอ
เป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญมาก น้องต้องถามตัวเองก่อนว่าอยากได้เกรดเท่าไร ถ้าอยากได้เกรด 3 หรือ 3.5 ก็ควรตั้งเป้าหมายเอาไว้ตั้งแต่แรก จะช่วยให้สำเร็จได้ง่ายขึ้น
2.ตั้งใจทำงานส่งครูทุกชิ้น 
โรงเรียนหลายโรงเรียนอาจจะอยากช่วยให้เกรดนักเรียนสูงขึ้นด้วยการเพิ่มสัดส่วนคะแนนเก็บให้มากขึ้น ดังนั้นแล้วอย่าหลีกเลี่ยงการส่งงานเด็ดขาด เพราะมันจะทำให้เราได้คะแนนที่สูงขึ้นและแน่นอนว่าเกรดสูงขึ้นแน่นอน
3.พยายามจับใจความสำคัญของบทต่าง ๆ 
หากน้อง ๆ รู้สึกว่าเนื้อหาในแต่ละบทมันเยอะมาก ๆ ให้ลองตั้งใจฟังที่ครูเขาอธิบาย ครูส่วนใหญ่จะบอกให้เราเน้นหัวข้อสำคัญต่าง ๆ ซึ่งนั่นก็เหมือนเป็นการบอกใบ้ว่าเราจะต้องไปดูเนื้อหาไหนสำหรับการสอบด้วยเช่นเดียวกัน
4.ทำสรุปโน้ตย่อบทเรียนแต่ละบทเอาไว้
การที่เรียนเนื้อหาต่าง ๆ เราอาจจะคิดว่ามันยากเกินไป อ่านเท่าไรก็จับใจความไม่ได้สักที แนะนำให้น้อง ๆ ลองทำเป็น Shortnote หรือ Mindmap ดูนะคะ จะช่วยให้เราสามารถมองเห็นภาพรวม และเข้าใจบทเรียนนั้น ๆ ได้มากขึ้นด้วยนะ
5.ทำโจทย์จากง่ายไปยาก 
เทคนิคนี้ดีมาก ๆ สำหรับน้อง ๆ ที่อยากทำข้อสอบต่าง ๆ ได้ พี่แนะนำให้เลือกทำข้อสอบง่ายไปก่อนนั้นหมายความว่าน้อง ๆ จะสามารถเข้าใจบทเรียนและจำสูตรต่าง ๆ ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น การเริ่มที่ข้อสอบยาก ๆ เลยจะทำให้รู้สึกว่าบทเรียนนั้นยากและน้อง ๆ ก็อาจจะไม่ได้ทบทวนความเข้าใจของตัวเองด้วย

วิเคราะห์ ข้อสอบวิทย์ ม.3 เตรียมอุดมศึกษา

ถ้าน้อง ๆ เป็นคนที่อยากสอบติดเตรียมอุดมศึกษา พี่ ๆ จะมาบอกแนวข้อสอบ บทเรียนสำคัญที่น้อง ๆ ต้องให้เวลากับมันเยอะ ๆ ห้ามทิ้งเด็ดขาด

วิชาฟิสิกส์ <วิดีโอแนะนำ>

ข้อสอบวิชาฟิสิกส์  มีทั้งพาร์ทคำนวณ และ พาร์ททฤษฏีซึ่งอาศัยความจำ เนื้อหานั้นไม่ออกเกินหลักสูตร ซึ่งในวิชาของฟิสิกส์จะผนวกเนื้อหาของโลก ดวงดาว และดาราศาสตร์เอาไว้ด้วย

วิชาฟิสิกส์ออกบทไหนเยอะ

  1. กลศาสตร์การเคลื่อนที่แนวราบ : การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ, วงกลม, โพรเจกไทล
  2. กฎการเคลื่อนที่นิวตัน
  3. คลื่น แสง เสียง : คลื่นกล, คลื่นเสียง, คลื่นแสง

วิชาเคมี  <วิดีโอแนะนำ>

ข้อสอบเคมีนั้นส่วนใหญ่จะไม่เกินหลักสูตร แต่สามารถมีเกินหลักสูตรไปบ้าง แต่จะออกเป็นเรื่องซ้ำ ๆ น้อง ๆ สามารถไปดูไว้ได้

วิชาเคมีออกบทไหนเยอะ

  • สสารและการแยกสาร
  • สมบัติของธาตุหมู่ต่าง ๆ
  • เปรียบเทียบแนวโน้มความเป็นโลหะ อโลหะ
  • สมบัติของสารประกอบไอออนิก โคเวเลนต์
  • อินดิเคเตอร์ (ออกทุกปี)
  • การคำนวณความเข้มข้น
  • แก๊สโซฮอล์ LPG NGV

วิชาชีวะ   <วิดีโอแนะนำ>

วิชานี้ถือว่ามีความยากพอสมควรเลย มีบางข้อที่ออกเกินหลักสูตร แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะเรายังสามารถเตรียมเก็บบทที่ออกเยอะ ๆ ได้เช่นกัน

วิชาชีวะออกบทไหนเยอะ

  • ระบบย่อยอาหาร
  • อวัยวะรับสัมผัส
  • ระบบการไหลเวียนโลหิต
  • ระบบหายใจ
  • โภชนาการ
  • สิ่งแวดล้อม
  • ดอกและผล

วิชาโลกและอวกาศ  <วิดีโอแนะนำ>

  • ดิน หิน แร่
  • ดวงดาว และการดูดาว

วิชาภาษาไทย  <วิดีโอแนะนำ>

วิชาภาษาไทยออกบทไหนเยอะ

  • เสียงและอักษรแทนเสียง
  • คำและความหมาย
  • การสร้างคำ
  • ถ้อยคำและสำนวน
  • ประโยค
  • ราชาศัพท์
  • ฉันทลักษณ์
  • คุณค่าด้านภาษา
  • คุณค่าด้านความรู้
  • คุณค่าด้านข้อคิด
  • การอ่านจับใจความสำคัญ
  • การอ่านตีความ
  • การอ่านออกเสียง
  • โวหารการเขียน
  • ข้อบกพร่องในงานเขียน
  • การเขียนสะกดคำ

วิชาภาษาอังกฤษ   

  • Conversation
  • Cloze Passage
  • Reading Comprehension
  • Error Identification
  • Sentence Completion

วิชาสังคมศึกษา   <วิดีโอแนะนำ>

  • ศาสนา
  • หน้าที่พลเมือง
  • เศรษฐศาสตร์
  • ประวัติศาสตร์
  • ภูมิศาสตร์
  • ข่าวสารในชีวิตประจำวัน

วิเคราะห์ ข้อสอบวิทย์ ม.3 สอบเข้า MWIT และ วมว.

วิชาคณิตศาสตร์ 

การเรียนรู้คณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) คือ การวัดผลที่ครอบคลุมการนำสาระคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถประเมินผลลัพธ์มาตอบได้ในชีวิตประจำวัน

วิชาวิทยาศาสตร์ 

การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) คือ การประเมินครอบคลุม ใน 3 ด้าน คือ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์

ลักษณะข้อสอบ MWIT

วิชาคณิตศาสตร์ มี 40 ข้อ แบ่งเป็น 3 พาร์ท

พาร์ท 1 –  ทั้งหมด20ข้อ 4 choice เลือกตอบ ข้อละ 2 คะแนน

เนื้อหาจะออกตั้งแต่ระดับประถม มัธยมที่เรียนทั้งหมด  ไม่ต้องวิเคราะห์เยอะ เน้นไปทาง คิดเลข มีเรื่องความน่าจะเป็น และสถิติเล็กน้อย

พาร์ท 2 – 10 ข้อ ข้อละ 6 คะแนน เป็นอัตนัย ไม่มีตัวเลือก  

พาร์ท3 – 10 ข้อประยุกต์  น้องไม่ต้องกังวลไปเพราะข้อสอบแนวนี้แม้จะเป็นอะไรที่เราไม่คุ้นเคยหรือเคยเรียนมาก่อน แต่เราสามารถใช้ข้อมูลที่เขาให้มาได้เลย ขอให้อ่านโจทย์ให้เข้าใจพอ

วิชาวิทยาศาสตร์ 40 ข้อ 3พาร์ท

พาร์ท1– 20ข้อ ข้อละ 2 คะแนนเป็นปรนัย เนื้อหาที่ออกจะอยู่ในหนังสือเรียนปกติ รวมถึงเรื่องในชีวิตประจำวันเป็นหลัก

พาร์ท2 – 10ข้อ ข้อละ 6 คะแนน?  แต่ละข้อมีคำตอบที่ถูก 2 ข้อ ถ้าถูก 1 ข้อผิด 1 ข้อได้3คะแนน   ส่วนมากจะมีตารางข้อมูลมาให้แล้วต้องวิเคราะห์

พาร์ท3 – 10ข้อ ข้อละ 10 คะแนน มีข้อมูลมาให้อ่าน วิเคราะห์แล้วเลือกคำตอบที่ถูก 2 ข้อ ถูก 1 ข้อ ผิด 1 ข้อ ได้5คะแนน ลักษณะการคิดคะแนนจะคล้ายพาร์ท 2 แต่ข้อมูลมาให้ยาวและเยอะกว่า เนื้อเรื่องที่เอามาจะเป็นปัญหาที่พบได้ในชีวิตประจำวัน

ลักษณะข้อสอบ วมว.

การสอบเข้าโครงการวมว. ข้อสอบชุดแรกจะเป็นชุดเดียวกับ MWIT ซึ่งเนื้อหาวิทย์คณิตที่ต้องเตรียม น้อง ๆ ไปดูได้ที่ลักษณะข้อสอบ MWIT ที่พี่อธิบายไว้ได้เลย

ข้อสอบคณิตศาสตร์ อัตนัย+ ปรนัย รสม  12 ข้อ 60 คะแนน

ตัวอย่างการออกข้อสอบเก่า 

  • เน้นไปที่เรื่องเรขาคณิต ลำดับเลขคณิต ลำดับอนุกรม จำนวนสุภาพ จำนวนเป็นกันเอง

ข้อสอบวิทยาศาสตร์ 

ข้อ 1-30 มี 5 ตัวเลือก

ข้อ1-120 ตัวเลือก  2 ข้อ  (คือตอบ ถูก หรือ ผิด)

ถูกได้ 1 คะแนน

ผิด -0.5 คะแนน

ไม่ตอบ 0 คะแนน

ข้อสอบโครงการ วมว. รอบ 2 (ศูนย์นั้น ๆ จะเป็นคนออกเองร่วมด้วย)

-ข้อสอบคณิตศาสตร์

-ข้อสอบอังกฤษ 

-วิทย์จากส่วนกลาง 1 ชุด           

-.วิทย์จากศูนย์นั้น ๆ

แจกแนว ข้อสอบเข้า ม.4 เตรียมอุดม

  1. ข้อสอบเก่า เตรียม วิชาคณิตศาสตร์  <ลิงก์>
  2. ข้อสอบเก่า เตรียม วิชาวิทยาศาสตร์ <ลิงก์>
  3. ข้อสอบเก่า เตรียม วิชาภาษาอังกฤษ <ลิงก์>
  4. ข้อสอบเก่า เตรียม วิชาภาษาไทย <ลิงก์>
  5. ข้อสอบเก่า เตรียม วิชาสังคมศึกษา <ลิงก์>

แจกแนว วิทยาศาสตร์ ม.3 สอบเข้าม.4 โรงเรียน MWIT และ วมว.

  1. ข้อสอบเก่า MWIT/วมว. ชุดที่ 1  <ลิงก์>
  2. ข้อสอบเก่า MWIT/วมว. ชุดที่ 2 <ลิงก์>
  3. ข้อสอบเก่า MWIT/วมว. ชุดที่ 3 <ลิงก์>
  4. ข้อสอบเก่า MWIT/วมว. ชุดที่ 4 <ลิงก์>
  5. ข้อสอบเก่า MWIT/วมว. ชุดที่ 5 <ลิงก์>
  6. ข้อสอบเก่า MWIT/วมว. ชุดที่ 6 <ลิงก์>
  7. ข้อสอบเก่า MWIT/วมว. ชุดที่ 7 <ลิงก์>
  8. ข้อสอบเก่า MWIT/วมว. ชุดที่ 8 <ลิงก์>

เก็บเกรดที่โรงเรียน : ข้อสอบวิทยาศาสตร์ ม.3 เทอม 1

เนื้อหาวิทยาศาสตร์ ม.3 เทอม 1

หน่วยที่ 1 วิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหา

หน่วยที่ 2 พันธุศาสตร์

บทที่ 1. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

  1. โครโมโซมและการค้นพบของเมนเดล
  2. โครโมโซมของมนุษย์และความผิดปกติทางพันธุกรรม
  3. สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

หน่วยที่ 3 คลื่นและแสง

บทที่ 1 คลื่น

  1. คลื่นกล
  2. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

บทที่ 2 แสง

  1. การสะท้อนของแสง
  2. การหักเหของแสง
  3. ความสว่าง

หน่วยที่ 4 ระบบสุริยะของเรา

บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ

  1. แรงโน้มถ่วงระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวบริวาร
  2. ปรากฏการณ์ที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของโลกรอบดวงอาทิตย์
  3. ปรากฏการณ์ที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์
  4. เทคโนโลยีอวกาศ

เก็บเกรดที่โรงเรียน : ข้อสอบวิทยาศาสตร์ ม.3 เทอม 2

บทที่ 1 วงจรไฟฟ้า

  1.  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า
  2.  การต่อวงจรไฟฟ้า

บทที่ 2 กำลังไฟฟ้า

บทที่ 3 แนวหลอดไฟ

บทที่ 4 การคิดค่าไฟและจำนวนยูนิต

บทที่ 5 ฟิวส์ไฟฟ้า

บทที่ 6 หม้อแปลงไฟฟ้า

บทที่ 7 ทฤษฎีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

2. ระบบนิเวศ

บทที่ 1 นิเวศวิทยา

  1.  คำศัพท์พื้นฐานและประเภทของระบบนิเวศ
  2.  ประชากร
  3.  องค์ประกอบของระบบนิเวศ
  4. ความสัมพันธ์ของระบบนิเวศ
  5.  ห่วงโซ่อาหารและสายใยอาหาร
  6.  กระบวนการถ่ายทอดพลังงานและหมุนเวียนสารในระบบนิเวศ
  7.  วัฏจักรของสารในระบบนิเวศ

3. ปฏิกิริยาเคมีและวัสดุในชีวิตประจำวัน

บทที่ 1 พอลิเมอร์ เซรามิกและวัสดุผสม

  1. พอลิเมอร์
  2. พลาสติก
  3. เส้นใย

บทที่ 2 เซรามิกและวัสดุผสม

บทที่ 3 พื้นฐานสมการเคมี

  1. สมการเคมีพื้นฐาน
  2.  ทฤษฎีการชน
  3.  มวลกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
  4.  การเปลี่ยนแปลงพลังงานความร้อนจากปฏิกิริยาดูดและคายความร้อน

เทคนิคการตั้งเป้าหมายและการอ่านหนังสือให้ได้คะแนนเยอะ

  1. กำหนดเป้าหมาย อยากเข้าโรงเรียนไหน สายไหน

การตั้งเป้าหมายคือหัวใจหลักของความสำเร็จในชีวิต รวมถึงการสอบเข้าโรงเรียนดังตอน ม.4 ด้วยนะ น้อง ๆ อยากเข้าโรงเรียนไหนก็ตามอย่าลืมตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนกับตัวเองก่อน

  1. จัดตารางอ่านหนังสือให้เหมาะกับตัวเอง

การจัดตารางอ่านหนังสือควรจัดตามความเหมาะสมกับตัวเอง ทั้งวิชาที่ถนัด และเวลาที่เหมาะกับการอ่านหนังสือ เช่น เป็นคนที่ชอบอ่านตอนกลางคืน เพราะความสงบ แนะนำให้อ่านช่วง 1 ทุ่ม ถึง 4 ทุ่ม หรือจะตื่นมาอ่านตอนตี 4 ของรุ่งเช้าก็ได้

  1. เลือกอ่านวิชาที่ต้องทำความเข้าใจเยอะ ๆ ก่อน

การที่เลือกวิชาที่ต้องทำโจทย์เยอะ ๆ เพื่อทำความเข้าใจเป็นเรื่องสำคัญมาก เช่น คณิต ฟิสิกส์ เคมี ภาษาอังกฤษ เพราะวิชาเหล่านี้เราต้องจำทั้งสูตรและการนำไปใช้ อย่าหาทำที่จะไปยัดเอาตอนใกล้สอบเพราะสูตรทั้งหมดจะตีกันในหัวน้อง แล้วก็จะไม่รู้ว่าควรทำยังไงกับสูตรเหล่านั้น หากในวิชาคำนวณ มีแต่วิชาที่เราไม่ชอบหรือไม่ถนัด ให้เราเลือกวิชาที่ยากที่สุดสำหรับเราเสริมไปกับวิชาที่คิดว่าทำได้ดี หรือคิดว่าเราเก็บได้แบบชิล ๆ หน่อย จะดีมาก โดยวิชาความจำควรเก็บไว้ท้าย ๆ แต่ถ้าน้อง ๆ ไม่ถนัดวิชานั้นก็อาจจะค่อย ๆ เก็บมาก็ได้ ไม่แนะนำให้อ่านทุ่มทีเดียวเพราะความจำจะไม่ได้จำได้ดีเท่าไรนัก

  1. การทำปรนัย ให้ได้คะแนนเยอะ 

ถ้าน้อง ๆ รู้สึกว่าทำไม่ได้และต้องเดาจริง ๆ แนะนำว่าควรเลือกข้อที่แตกต่างที่สุด หรือมีความเชื่อมโยงกันในข้อสอบนั้น ๆ 

  1. การทำอัตนัย ให้ได้คะแนนเยอะ 

ย่อหน้าแรก ควรตอบอย่างตรงไปตรงมา ไม่ต้องน้ำเยอะ ส่วนเหตุผลรองค่อยนำมาใส่ในย่อหน้าต่อไป จากนั้นค่อยเสริมเหตุผลต่าง ๆ เข้าไปในย่อหน้าต่าง ๆ 

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

น้อง ๆ จะสอบเข้าแล้ว ควรเตรียมตัวยังไง ถึงจะไม่พลาด

ให้เน้นเก็บเนื้อหาที่ ม.1 และ ม.2 สำหรับวิชาคณิตศาสตร์ และเนื้อหาบางส่วนของ ม.3 ระดับความยากของแต่ละชั้นนั้นจะเฉลี่ยไปเท่า ๆ กัน ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์เน้นเก็บทุกบทและเน้นเจาะลึกบทสำคัญต่าง ๆ ที่บอกไว้ข้างต้น รวมถึงการติดตามข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำวัน 

เลข ม.1 -2 เรื่องไหนซับซ้อนสุด

ทุกเรื่องสามารถเพิ่มระดับความยากและซับซ้อนได้หมด ควรทำความเข้าใจแก่นของแต่ละเรื่องให้ดี เวลาเจอโจทย์ยากจะสามารถวิเคราะห์ได้ดีขึ้น

เก็บเนื้อหายังไงให้เวิร์ค ที่สุด

เรียนทฤษฎีให้แน่น จากนั้นฝึกโจทย์จากทฤษฎีนั้นให้มากที่สุดก่อนสอบ เพื่อให้มั่นใจว่าเราเข้าใจเรื่องนั้นจริง ๆ 

เรขาคณิต ม.1 ม.2 จะเน้นไปที่เรื่องไหนบ้าง

การสร้าง / วงกลม / เส้นขนาน / วงกลม / รูปทรงเรขาคณิต นอกจากนี้พี่ ๆ ขอแนะนำให้น้อง ๆ เก็บครอบคลุมไปถึงเนื้อหา ม.3 เพราะจากข้อสอบเก่าก็ยังออกมาให้เห็น เช่น เรื่องความคล้าย ที่ออกข้อสอบจริงไปเมื่อปีก่อนนั่นเอง

อยากสอบติด ต้องเก็งข้อสอบ จริงหรือ

อยากสอบติดควรแม่นเนื้อหา และตะลุยโจทย์ให้ครบจนเกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้ แม้ว่าโจทย์จะพลิกมาอย่างไร น้อง ๆ ก็สามารถทำได้ การเก็งข้อสอบเพียงอย่างเดียว ทำให้น้องเห็นข้อสอบที่หลากหลายมากขึ้น แต่อาจทำให้ไม่เข้าใจเนื้อหานั้น ๆ ได้ดีพอ

การจะสอบติดโรงเรียนที่น้องต้องการนั้นไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หากน้อง ๆ มุ่งมั่นเพื่อเป้าหมายแล้วล่ะก็ ความสำเร็จก็คือผลงานอันเกิดจากความพยายามของตัวน้องเอง พี่ ๆ ATHOME ขอสนับสนุนทุกความฝันของน้อง ๆ ทุกคน ขอให้น้อง ๆ โชคดีกับการเตรียมตัวสอบที่ถูกทาง และเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างที่น้องต้องการนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
สรุปเนื้อหาตรรกศาสตร์ ม.4 
โพสต์เมื่อ :
รู้ก่อน เก่งก่อน สังคมศึกษา ม. 1 ต้องเรียนอะไร
โพสต์เมื่อ :
ติวเข้ม ข้อสอบ ฟิสิกส์ ม 4 ออกอะไรบ้าง
โพสต์เมื่อ :
พิชิตคะแนนฟิสิกส์แบบแม่นๆด้วย สูตรฟิสิกส์ ม 4
โพสต์เมื่อ :
สรุปย่อ “จำนวนจริง” พร้อมสูตรทั้งหมด ครบถ้วน เตรียมพร้อมสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบ...
โพสต์เมื่อ :
สรุปเรื่อง พหุนาม เอกนาม ม.1 พร้อมแบบฝึกหัดและเฉลย จัดเต็มพร้อมสอบ เกรดดีขึ้น...
โพสต์เมื่อ :