ติวสอบเคมี ม.4 พร้อมเฉลยฉบับคนมีเวลาน้อย    

Home > เคมี > ติวสอบเคมี ม.4 พร้อมเฉลยฉบับคนมีเวลาน้อย    
เขียนโดย :
โพสต์เมื่อ :

อ่านสรุปตรงนี้ได้เลย

วิชาเคมี ม.4 เป็นหนึ่งในวิชาหลักปราบเซียน ที่น้องๆสายวิทย์ทุกคนจะได้เจอตั้งแต่เทอมแรกของการเรียนชั้นม.ปลายเลย มีหลายคนอาจจะกำลังปรับตัวกับครูใหม่ เพื่อนใหม่ หรือการเรียนที่เข้มข้นมากขึ้น แถมมีกิจกรรมเยอะแยะไปหมด เผลอแป๊บเดียวสอบอีกแล้ว ใครที่รู้สึกว่ายังไม่พร้อม ไม่รู้จะเริ่มอ่านหนังสือสอบตรงไหนดี พี่ๆ At Home มาช่วยสรุปประเด็นสำคัญที่คิดว่าออกสอบชัวร์ๆ ตามไปเช็คกันได้เลยว่ามีเรื่องอะไรกันบ้าง

ติวสอบเคมี ม.4 เทอม 1 

การสอบวิชาเคมี ม.4 เทอม 1 สัดส่วนของข้อสอบโดยส่วนใหญ่ จะเน้นหนักที่เรื่อง พันธะเคมี ประมาณ 70% และเรื่องตารางธาตุประมาณ 30% และจะมีเรื่องความปลอดภัยและปฏิบัติการเคมีบ้างประปราย
เรื่องที่มักออกสอบอยู่บ่อยๆ ได้แก่

อะตอมและสมบัติของธาตุ

เรื่องพลังงานไอออไนเซชัน(IE), สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (EA) และอิเล็กโทรเนกาติวิตี (EN) การจัดเรียงอิเล็กตรอน ดูหมู่ ดูคาบในตารางธาตุได้อย่างไรนั้นออกสอบแน่นอน นอกจากนี้ยังมีเรื่องการเรียงขนาดอะตอม ซึ่งมีสองแบบ คือ เรียงแบบมีประจุกับเรียงแบบไม่มีประจุ น้องๆต้องรู้ทั้งสองวิธี รวมไปถึงการคิดเลขออกซิเดชัน ข้อสอบอาจจะออกให้เรียงลำดับจากน้อยไปมาก หรือมากไปน้อย และที่ขาดไม่ได้เลยคือ เรื่องสมการกัมตรังสีและครึ่งชีวิตของธาตุ อันนี้ออกสอบเกือบทุกครั้ง ซึ่งเรื่องครึ่งชีวิตนั้น มักจะออกสอบแบบแสดงวิธีทำด้วย 

พันธะเคมี

ข้อสอบวิชาสามัญปี 64 ที่ผ่านมาก เรื่องพันธะเคมีออกสอบเยอะที่สุดในเนื้อหาของชั้นม.4 เพราะฉะนั้นน้องๆต้องให้เวลากับมันมากซักหน่อย ในบทนี้เราจะเรียนเรื่องพันธะต่างๆ จะเน้นที่พันธะไอออนิก และพันธะโคเวเลนต์  สิ่งที่เราต้องรู้คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างพันธะ จุดเดือด จุดหลอมเหลว และการนำไฟฟ้าของพันธะ วิธีอ่านชื่อสารประกอบไอออนิก การเกิดพันธะไอออนิก รวมไปถึงสมการไอออนิกและไอออนิกสุทธิด้วย นอกจากนี้ยังมีเรื่องการคำนวณพลังงานสมการ กฏออกเตด รูปร่างโมเลกุลและการเรียงลำดับจุดเดือดที่ข้อสอบมักจะออกเป็นส่วนใหญ่ด้วย 

ตัวอย่างข้อสอบวิชาเคมี ม.4 เทอม 1 พร้อมเฉลย

ข้อที่ 1. พิจารณาสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุสมมติต่อไปนี้ 

( ใส่รูป 1 )

ธาตุใดเป็นไอโซโทปกัน

ตอบ ธาตุที่เป็นไอโซโทปกัน ต้องมีเลขอะตอมเท่ากันหรือจำนวนโปรตรอนเท่ากัน เพราะฉะนั้นธาตุ A B และ C เป็นไอโซโทปกัน

ธาตุใดมีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน 

จำนวนนิวตรอน = เลขมวล – เลขอะตอม

An° = 12 – 6 = 6

Bn° = 13 – 6 = 7

Cn° = 14 – 6 = 8 

Dn° = 14 – 7 = 7 

En° = 16 – 8 = 8

ตอบ ธาตุ B และ D, C และ E มีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน


ข้อที่ 2. กำหนดธาตุ 5 ธาตุ A B C D และ E ซึ่งมีเลขอะตอมเท่ากับ 12 20 23 30 และ 36

มีธาตุแทรนซิชันทั้งหมดกี่ธาตุ 

ตอบ ธาตุแทรนซิชันคาบแรกจะมีเลขอะตอมตั้งแต่ 21 – 30 ดังนั้นธาตุที่มีเลขอะตอม 23 และ 30 คือ ธาตุแทรนซิชัน เพราะฉะนั้น C และ D คือธาตุแทรนซิชัน

ธาตุที่มีเลขอะตอมเท่าใดจัดอยู่ในกลุ่มของแก๊สมีสกุล

ตอบ แก๊สมีสกุล คือ ธาตุหมู่ 8 

        ธาตุหมู่ 8 ตัวแรก คือ ฮีเลียม (He) มีเลขอะตอมเท่ากับ 2 และธาตุตัวต่อไปในหมู่ 8 นี้มีเลขอะตอม 10 18 36 54 86 118 ดังนั้น E ซึ่งมีเลขอะตอมเท่ากับ 36 จึงเป็นธาตุหมู่ 8 ด้วย สามารถจัดเรียงอิเล็กตรอนได้ดังนี้ 

36  =   2   8   18   8 


ข้อที่ 3. กำหนดให้พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 – 4 ของธาตุ ดังรูป 

( ใส่รูป 2 )

ธาตุใดมีแนวโน้มสูงสุดที่จะเกิดเป็นไอออนซึ่งมีประจุ +1

วิธีคิด ลำดับของไอออไนเซชันของธาตุใดๆจะเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนที่ธาตุนั้นมี และแต่ละระดับพลังงาน ค่าพลังงานไอออไนเซชันที่อยู่ในระดับพลังงานเดียวกัน จะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันที่ใกล้เคียงกัน คือ ห่างกันไม่เกิน 3 เท่ากัน ถ้ามากกว่า 3 เท่ากับแสดงว่าระดับพลังงานต่างกัน ดังนั้นจากตาราง 

ธาตุ A  อยู่หมู่ที่ 1 เพราะมีวาเลนซ์อิเล็กตรอนตัวเดียว สังเกตุจาก IE1 และ IE2  มีค่าพลังงานห่างกันเกิน 3 เท่า 

ธาตุ B  อยู่หมู่ที่ 2 สังเกตจาก IE1 และ IE2 ค่าพลังงานต่างกันไม่เกิน 3 เท่า แสดงว่าธาตุนี้มีอิเล็กตรอนในระดับพลังงานเดียวกัน 2 ตัว

ธาตุ C  อยู่หมู่ที่ 2 สังเกตจาก IE1 และ IE2 ค่าพลังงานต่างกันไม่เกิน 3 เท่า แสดงว่าธาตุนี้มีอิเล็กตรอนในระดับพลังงานเดียวกัน 2 ตัว

ธาตุ D อยู่หมู่ 3 เพราะมีอิเล็กตรอนในระดับพลังงานเดียวกัน 3 ตัว ได้แก่ IE1  IE2 และ IE3

ตอบ เพราะฉะนั้นธาตุที่มีแนวโน้มจะเกิดไอออนประจุ +1 (เสียอิเล็กตรอน 1 ตัว) คือ ธาตุในหมู่ 1 ได้แก่ ธาตุ A


ข้อที่ 4. จากการทดลองพบว่าเมื่อเวลาผ่านไป 120 วันจะมีซีเซียม-137 เหลืออยู่ 300 กรัม ถ้าครึ่งชีวิตของซีเซียม-137 เท่ากับ 30 วัน จงหาว่าเมื่อเริ่มต้นมีซีเซียม-137 อยู่เท่าใด

วิธีทำ จากโจทย์สามารถบอกได้ว่า 

( ใส่รูป 3 )

ตอบ  เมื่อเริ่มต้นมีซีเซียม-137 4,800 กรัม


ข้อที่ 5. 

( ใส่รูป 4 )

จากภาพจงหาว่า X Y Z มีสัญลักษณ์นิวเคลียร์เป็นอย่างไร 

วิธีคิด  เมื่อเจอสมการนิวเคลียร์ เราต้องดุลทั้งเลขด้านบนและเลขด้านล่าง จะได้ว่า

( ใส่รูป 5 )

ตอบ ดังนั้นสัญลักษณ์ของ X Y Z และตรงกับธาตุในตารางธาตุดังต่อไปนี้ 

( ใส่รูป 6 )


ข้อที่ 6. ชื่อโมเลกุลตามสูตร N2O3 คืออะไร

ตอบ ไดไนโตรเจนไตรออกไซด์


ข้อที่ 7. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง 

ก. สารประกอบไอออนิกทุกชนิดละลายน้ำ

ข. ซิงค์ซัลไฟด์เป็นสารประกอบโคเวเลนต์

ค. สารประกอบโคเวเลนต์ทุกชนิดมีสถานะเป็นของเหลว

ง. เอทานอลเป็นสารประกอบไอออนิก

จ. สารประกอบไอออนิกทุกชนิดมีสถานะเป็นของแข็ง 

ตอบ จ.สารประกอบทุกชนิดเป็นของแข็ง

ก.ผิด เพราะไอออนิกบางชนิดเป็นตะกอน ไม่ละลายน้ำ เช่น หินปูน (CaCO3) ยิปซัม (CaSO3)

ข. ผิด เพราะสารประกอบซิงค์ซัลไฟด์ มีส่วนประกอบคือ ซิงค์ (Zn) เป็นโลหะ และ กัมมะถัน (S) เป็นอโลหะ ดังนั้นจึงเป็นสารประกอบไอออนิก

ค. ผิด เพราะสารประกอบโคเวเลนต์สามารถเป็นได้ทั้งสามสถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส

ง. ผิด เพราะ เอทานอล (C2H5OH)เป็นสารประกอบโคเวเลนต์ 


ข้อที่ 8. ข้อใดที่สารมีรูปร่างเป็นเส้นตรงทั้งหมด

ก. N2O, C2H2 และ H2S

ข. CO2, C2H2 และ SnCl2

ค. HCN, XeF2 และ BeF2

ง. HCN, XeF2 และ PbCl2

จ. C2H2, XeF2 และ SnCl2

ตอบ ค. HCN, XeF2 และ BeF2

รูปร่างเป็นเส้นตรงต้องเป็นพันธะโคเวเลนต์เท่านั้น 

แต่สารประกอบ SnCl2 และ PbCl2 เป็นไอออนิก ดังนั้นตัดข้อ ข,ง,จ ออก 

สารประกอบที่มีรูปร่างเป็นเส้นตรง ต้องไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเหลืออยู่ หรือหากมีเหลือ ต้องเหลือสามคู่ สารประกอบนั้นจึงมีรูปร่างเป็นเส้นตรง 

( ใส่รูป 7 )


ข้อที่ 8. เลขโคออร์ดิเนชันของ Sr2+ ต่อ Cl มีค่าเท่าไหร่

วิธีคิด เลขโคออร์ดิเนชันคือ จำนวนไอออนลบที่ไปล้อมรอบไอออนบวก หรือจำนวนไอออนบวกที่ไปล้อมรอบไอออนลบ โดยทั่วไปจะประมาณสองเท่าของประจุ ดังนั้นสทรอนเทียมจะถูกล้อมรอบด้วยคลอไรด์ 4 ไอออน และคอลไรด์จะถูกสทรอนเทียมล้อมรอบอยู่ 2 ไอออน ดังรูป 

( ใส่รูป 8 )

ตอบ เลขโคออร์ดิเนชันของ Sr2+ ต่อ Cl มีค่า 2 : 4


ข้อที่ 9. นำสารประกอบไอออนิก A3B 5 กรัม มาละลายน้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ในแคลอริมิเตอร์ ปรากฎว่าน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากเดิม 5 องศาเซลเซียส ถ้าพลังงานไฮเดรชันของ A3B เท่ากับ 5.2 กิโลจูล พลังงานแลตทิชของ A3B มีค่ากี่กิโลจูล

( ใส่รูป 9 )


ติวสอบเคมีม.4 เทอม 2

การสอบวิชาเคมีในเทอมนี้ ข้อสอบมักจะเน้นหนักที่การคำนวณ ทั้งเรื่องสารละลายและปริมาณสารสัมพันธ์ ไล่ตั้งแต่โมล มวลอะตอม มวลอะตอมเฉลี่ย การเปรียบเทียบมวลอะตอม กฎทรงมวลและสูตรอย่างง่าย หน่วยโมลาร์ โมแลลที่ใช้ในการคำนวณสมบัติคอลลิเกทีฟ และข้อสอบเร่ิมมีการคำนวณแบบหลายสมการ ทั้งสมการคู่ขนาน และสมการต่อเนื่องด้วย

สารละลาย

ข้อสอบจะเน้นเรื่องการหาความเข้มข้นของสารละลาย สัดส่วนตัวถูกละลายเทียบกับสารละลาย สมบัติคอลลิเกทีฟ หา b.p. หรือ m.p. ที่เปลี่ยนไปของสารละลายหรือหาชนิดของตัวถูกละลาย บางคร้ังมีการนำเรื่องคอลลิเกทีฟไปพ่วงกับการเปลี่ยนหน่วยสารละลายด้วย 

ปริมาณสารสัมพันธ์

เรื่องหลักๆในการสอบของบทนี้คือ สมการเคมี น้องๆจะต้องดุลสมการเป็น รู้จักประเภทของสมการและนำไปเขียนเป็นสมการได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องการหาปริมาณสารบางตัวในสมการเคมี หาสารกำหนดปริมาณ ซึ่งเป็นการคำนวณปริมาณสารในหน่วยต่างๆ ทั้งมวล ปริมาตร ความเข้มข้นและเชื่อมไปกับหน่วยโมล รวมไปถึงการหามวลที่เกิดจากปฏิกิริยา สัดส่วนปริมาตรของแก๊สแต่ละชนิดในปฏิกิริยาระหว่างแก๊ส และเรื่องสมการเคมีที่มีเงื่อนไข เช่น ปฏิกิริยาเกิดได้ไม่สมบูรณ์ หรือเกิดปฏิกิริยาบางสาร ก็มักออกข้อสอบบ่อยๆเช่นกัน 

ตัวอย่างข้อสอบวิชาเคมี ม.4 เทอม 2 พร้อมเฉลย

ข้อที่ 1. นำสารประกอบ X มา 0.032 mol ละลายในตัวทำละลาย A ปริมาตร 20 cm3 ได้สารละลายที่มีจุดเยือกแข็ง -10.0 องศาเซลเซียน และเมื่อนำสารประกอบ Y มา 2.85 g ละลายในตัวทำละลาย A ปริมาตร 20 cm3 ได้สารละลายที่มีจุดเยือกแข็ง -2.0 องศาเซลเซียส ถ้าสาร X และ Y เป็นสารประกอบที่ไม่ระเหยและไม่แตกตัวในตัวทำละลาย  A และ A เป็นของเหลวที่มีจุดเยือกแข็ง 6.0 องศาเซลเซียส มีความหนาแน่น 0.800 g/cm3 ข้อใดเป็นมวลโมเลกุลของสาร Y 

วิธีทำ 

( ใส่รูป 10 )


ข้อที่ 2. นำ้ส้มสายชูชนิดหนึ่งมีกรด CH2COOH ร้อยละ 8.0 โดยมวล และมีความหนาแน่น 1.13 g/cm3 ถ้านำน้ำส้มสายชูชนิดนี้ 100 cm3 มาเติมน้ำลงไป 400 cm3 จะได้สารละลายกรด CH2COOH เข้มข้นกี่โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร

วิธีทำ 

( ใส่รูป 11 )


ข้อที่ 3. ถ้าเติมกรด H2SO4 เข้มข้นที่ข้างขวดระบุว่ามีกรดอยู่ร้อยละ 96 โดยมวล ความหนาแน่น 1.84 g/cm3 จำนวน 5 cm3 ลงในน้ำแล้วปรับปริมาตรเป็น 500 cm3 จะได้กรด H2SO4 ที่มีความเข้มข้นกี่โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร

วิธีทำ ( ใส่รูป 12 )


ข้อที่ 4. ในห้องปฏิบัติการมีกรดแอซีติก (CH2COOH) เข้มข้นร้อยละ 30 โดยมวลต่อปริมาตรและมีความหนาแน่น 1.2 g/cm3 หากต้องการเตรียมสารละลาย กรดแอซีติกเข้มข้น 0.60 M ปริมาตร 10 dm3 จะต้องใช้กรดข้างต้นกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร 

( ใส่รูป 13 )


ข้อที่ 5. ในการเตรียมสารละลายมาตรฐาน K2Cr2O7 เข้มข้น 1.00 x 10-5 mol/dm3 ทำได้โดยชั่ง K2Cr2O7 บริสุทธิ์ X g. ละลายด้วยน้ำกลั่นและปรับปริมาตรเป็น 100 cm3 จากนั้นปิเปตสารละลายที่เตรียมได้ 1.00 cm3 ใส่ลงในขวดวัดปริมาตรขนาด 500 cm3 เติมน้ำกลั่นจนถึงขีดวัดปริมาตร แล้วเขย่าผสมให้เข้ากัน X มีค่าเท่าใด

วิธีทำ  ( ใส่รูป 14 )


คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

วิชาเคมีชั้น ม.4 สอบอะไรบ้าง

เนื้อหาของวิชาเคมี ชั้นม.4 จะเป็นพื้นฐานของวิชาเคมีที่เราจะได้เรียนกันในปีต่อๆไป ข้อสอบจึงไม่ยากมาก มีการคำนวณแต่ก็ไม่ซับซ้อน เน้นวัดความรู้พื้นฐาน ข้อสอบส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็น สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, Onet หรือ Pat 2 จะครอบคลุมทั้ง 6 บทเรียนหลัก ได้แก่ 
ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
อะตอมและสมบัติของธาตุ
พันธะเคมี
โมลและสูตรเคมี 
สารละลาย
ปริมาณสัมพันธ์ 
แต่สัดส่วนของแต่ละบท อาจจะไม่เท่ากัน พันธะเคมี สารละลาย ปริมาณสัมพันธ์ อะตอมและสมบัติของธาตุในบางปีมีสัดส่วนเยอะกว่าบทอื่นๆ เพราะฉะนั้นควรเน้นที่บทเรียนเหล่านี้ให้มาก

เคมี ม.4 เทอม 1 หลักสูตรใหม่ของสสวท.เรียนอะไรบ้าง

วิชาเคมีในชั้น ม.4 เทอม 1 ตามหลักสูตรใหม่ของสสวท. (ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2560) นั้น เราจะได้เรียนทั้งหมด 3 บทเรียน ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดอยู่ในหนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี เล่ม 1 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 
บทที่ 1 ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี และอุบัติเหตุจากสารเคมี
การวัดปริมาณสาร
หน่วยวัด
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
บทที่ 2 อะตอมและสมบัติของธาตุ
แบบจำลองอะตอม
อนุภาคในอะตอมและไอโซโทป
การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
ตารางธาตุและสมบัติของธาตุหมู่หลัก
ธาตุแทรนซิชัน
ธาตุกัมมันตรังสี
การนำธาตุไปใช้ประโชน์และผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต
บทที่ 3 พันธะเคมี
สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฎออกเดต
พันธะไอออนิก
พันธะโคเวเลนต์
พันธะโลหะ
การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ 

เคมี ม.4 เทอม 2 หลักสูตรใหม่ของสสวท.เรียนอะไรบ้าง

วิชาเคมีในชั้น ม.4 เทอม 2 ตามหลักสูตรใหม่ของสสวท. (ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2560) นั้น เราจะได้เรียนอีก 3 บทเรียนต่อเนื่องจากเทอมแรก ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดอยู่ในหนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี เล่ม 2 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 
บทที่ 4 โมลและสูตรเคมี
มวลอะตอม
โมล
สูตรเคมี
บทที่ 5 สารละลาย
ความเข้มข้นของสารละลาย
การเตรียมสารละลาย
สมบัติบางประการของสารละลาย
บทที่ 6 ปริมาณสัมพันธ์
ปฏิกิริยาเคมี และสมการเคมี
การคำนวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี
สารกำหนดปริมาณ และผลได้ร้อยละ

บทความที่เกี่ยวข้อง
สรุปเนื้อหาตรรกศาสตร์ ม.4 
โพสต์เมื่อ :
รู้ก่อน เก่งก่อน สังคมศึกษา ม. 1 ต้องเรียนอะไร
โพสต์เมื่อ :
ติวเข้ม ข้อสอบ ฟิสิกส์ ม 4 ออกอะไรบ้าง
โพสต์เมื่อ :
พิชิตคะแนนฟิสิกส์แบบแม่นๆด้วย สูตรฟิสิกส์ ม 4
โพสต์เมื่อ :
สรุปย่อ “จำนวนจริง” พร้อมสูตรทั้งหมด ครบถ้วน เตรียมพร้อมสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบ...
โพสต์เมื่อ :
สรุปเรื่อง พหุนาม เอกนาม ม.1 พร้อมแบบฝึกหัดและเฉลย จัดเต็มพร้อมสอบ เกรดดีขึ้น...
โพสต์เมื่อ :